เมนู

ที่ชื่อว่า ยังมิได้สมมติ คือ สงฆ์ยังมิได้ให้สมมติการให้อุปสมบท
ด้วยญัตติทุติยกรรม.
บทว่า ยังกุลธิดาให้บวช คือ ให้กุลธิดาอุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้บวช แสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี
สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา
สองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏสองตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์


[418] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ให้บวช
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.

ติกะทุกกฏ


กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[419] มีพรรษาครบ 12 แล้ว อันสงฆ์สมมติแล้ว ยังกุลธิดาให้
บวช 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ 5 จบ

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ 6


เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี


[420] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
จัณฑกาลีเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ ขอสมมติการให้อุปสมบท ภิกษุณีสงฆ์พิจารณา
ดูภิกษุณีจัณฑกาลีในขณะนั้นแล้ว กล่าวว่า ดูก่อนแม่เจ้า เธอยังไม่คนควร
ให้กุลธิดาบวชก่อน แล้วมิได้ให้สมมติการให้อุปสมบท ภิกษุณีจัณฑกาลีรับ
คำว่า ดีแล้ว.
ครั้นสมัยต่อมา ภิกษุณีสงฆ์สมมติการให้อุปสมบทแก่ภิกษุณีเหล่าอื่น
ภิกษุณีจัณฑกาลีจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ดิฉันคนเดียวเป็นคนเขลา
ดิฉันคนเดียวเป็นคนไม่มีความละอาย เพราะสงฆ์ให้สมมติการให้อุปสมบทแก่
ภิกษุณีเหล่าอื่น ไม่ให้กะดิฉันคนเดียว.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนแม่เจ้าจัณฑกาลี อันภิกษุณีสงฆ์กล่าวอยู่ว่า ดูก่อนแม่เจ้า เธอยังไม่
สมควรให้กุลธิดาบวชก่อน ดังนี้ รับคำว่า ดีแล้ว ภายหลังจึงได้ถึงการบ่น
ว่าเล่า . . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีจัณฑกาลีอันสงฆ์กล่าวอยู่ว่า ดูก่อนแม่เจ้า เธอยังไม่สมควร
ให้กุลธิดาบวชก่อน ดังนี้ รับคำว่า ดีแล้ว ภายหลังได้ถึงการบ่นว่า จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.