เมนู

บทภาชนีย์


ติกะปาจิตตีย์


[411] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ให้บวช
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ให้บวช ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ให้บวช ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.

ติกะทุกกฏ


กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[412] บวชสามเณรีผู้มีอายุครบ 20 ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม
6 ประการ ตลอด 2 ปีแล้ว อันสงฆ์สมมติแล้ว 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1
ไม่ต้องอาบัติแล.

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ 3 จบ

อรรถกถากุมารีภูตวรรคที่ 8


อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ 1-2-3


สิกขาบทที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แห่งกุมารีภูควรรค เช่นเดียวกับคิหิคต
สิกขาบททั้ง 3 นั่นเอง. ก็มหาสิกขมานา 2 รูปก่อนเขาทั้งหมดบัณฑิตพึงทราบ
ว่า มีอายุล่วง 20 ปีแล้ว มหาสิกขมานาเหล่านั้นจะเป็นสตรีคฤหัสถ์ (เคยมี
สามีแล้ว) หรือมิใช่สตรีคฤหัสถ์ก็ตามที สงฆ์ควรเรียกว่า สิกขมานา เหมือนกัน
ในสมมติกรรมเป็นต้น ไม่ควรเรียกว่า ติหิคตา หรือว่า กุมารีภูตา. ภิกษุณี
สงฆ์พึงให้สิกขาสมมติแก่สตรีคฤหัสถ์ในเวลามีอายุ 10 ปี แล้วทำการอุปสมบท
ในเวลามีอายุ 12 ปี. ให้ในเวลามีอายุ 11 ปี แล้วทำอุปสมบทในเวลามีอายุ
13 ปี. ให้สมมติในเวลามีอายุ 12 ปี 13 ปี 14 ปี 15 ปี 16 ปี 17 ปี และ
18 ปี แล้วพึงกระทำการอุปสมบทในเวลามี 14-15-16-17-18-19-20
ปี. ก็แล ตั้งแต่เวลามีอายุ 18 ปีขึ้นไป สตรีคฤหัสถ์นี้ จะเรียกว่า คิหิคตา
บ้าง ว่า กุมารีภูตาบ้าง ก็ได้. แต่สตรีผู้เป็นกุมารีภูตา ไม่ควรเรียกว่า คิหิคตา
ควรเรียกว่า กุมารีภูตาเท่านั้น. ฝ่ายมหาสิกขมานา จะเรียกว่า คิหิคตาบ้าง
ก็ไม่ควร. จะเรียกว่ากุมารีภูตาบ้าง ก็ไม่ควร. แม้ทั้ง 3 นาง ควรเรียกว่า
สิกขมานาด้วยอำนาจการให้สิกขาสมมติ.

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ 1-2-3 จบ