เมนู

อรรถกถาสัตตรสกัณฑ์


บัดนี้ จักมีการพรรณนาอรรถที่ยังไม่
กระจ่าง แห่งสังฆาทิเสสกัณฑ์ อันเป็น
ลำดับถัดจากปาราชิกมา ดังต่อไปนี้.

สัตตรสสังหาทิเสสสิกขาบทที่ 1


ว่าด้วยเรื่องภิกษุณีเป็นโจทก์ฟ้องคดีในโรงศาล

บทว่า อุทฺโทสิตํ แปลว่า โรงเก็บของ.
คำว่า มายฺโย เอวํ อวจ แปลว่า นาย ! อย่าได้พูดอย่างนั้น.
บทว่า อปินฺวยฺยา ตัดบทเป็น อปิ นุ อยฺยา แปลว่าพ่อคุณ. . .
บ้างไหม ?
บทว่า อุจฺจาวทถ แปลว่า พวกท่านจงกล่าวล่วงเกิน มีคำอธิบายว่า
จงด่า.
บทว่า อุสูยวาทกา ได้แก่ เป็นผู้ชอบกล่าวหาเรื่องด้วยอำนาจความ
ริษยา เพราะมานะ ด้วยอำนาจความริษยา เพราะความโกรธ. แต่เพราะ
ถูลนันทาภิกษุณีนั้น เป็นผู้ชอบก่อคดีโดยสภาพ ฉะนั้น จึงได้ตรัสไว้ในบท
ภาชนะว่า ที่ชื่อว่าชอบกล่าวหาเรื่อง ได้แก่ ที่ท่านเรียกว่า ชอบก่อคดี.
ก็ในคำว่า อฏฺฏการิกา นี้ การวินิจฉัยของพวกตุลาการ ท่านเรียกว่า
คดี ซึ่งทางฝ่ายบรรพชิตเรียกว่า อธิกรณ์ บ้างก็มี.
สองบทว่า ทุติยํ วา ปริเยสติ มีความว่า ภิกษุณีผู้ก่อคดีแสวง
หาพยาน หรือเพื่อน เป็นทุกกฏ.

บทว่า คจฺฉตุ วา มีความว่า จะเป็นสำนัก หรือทางเที่ยวภิกษาจาร
ก็ตามที ภิกษุณีเดินไปยังสำนักงานของพวกตุลาการจากที่ที่ตนยืนอยู่ แล้วเกิด
ความคิดขึ้นว่า เราจักดำเนินคดี เป็นทุกกฏทุก ๆ ย่างเท้า.
สองบทว่า เอกสฺส อาโรเจติ มีความว่า บรรดาชน 2 คน คนใด
คนหนึ่ง แจ้งถ้อยคำของคนใดคนหนึ่ง คือ ของอีกฝ่ายหนึ่ง แก่พวกตุลาการ
แม้ในคำว่า ทุติยสฺส อาโรเจติ นี้ ก็นัยนี้นั่นแล.
ส่วนวิตถารกถา เพื่อประโยชน์แก่ความไม่ฟันเฝือ ในคำว่า เอกสฺส
อาโรเจติ
นี้ ดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุณีเห็นพวกตุลาการ ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง โดยที่สุด แม้ผู้มาสู่
สำนักแห่งภิกษุณีแล้วให้การถ้อยคำของตน เป็นทุกกฏแก่ภิกษุณี. อุบาสกให้
การถ้อยคำของตน เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุณี. อุบาสกให้การถ้อยคำของตนก่อน
เป็นทุกกฏแก่ภิกษุณี. ถ้าภิกษุณีนั้นให้การถ้อยคำของตน ภิกษุณีเป็นถุลลัจจัย.
ภิกษุณีพูดกะอุบาสกว่า ท่านนั้นแหละจงแถลงถ้อยคำ (จงให้การปาก
คำ) ของฉันและของท่าน. อุบาสกนั้นให้การถ้อยคำของตนก่อน หรือจงให้
ถ้อยคำของภิกษุณีก่อนก็ตามที เป็นทุกกฏในเพราะให้การครั้งแรก เป็นถุลลัจจัย
ในเพราะให้การครั้งที่ 2. แม้ในคำว่า อุบาสกพูดกะภิกษุณีว่า ท่านนั่นแหละ
จงให้การถ้อยคำของผมและของท่าน นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ภิกษุณีใช้กัปปิยการกให้แถลง. บรรดากัปปิยการกแล ะอุบาสกนั้น
กัปปิยการกจงให้การถ้อยคำของภิกษุณีก่อนก็ตาม อุบาสกนอกนี้ให้การถ้อยคำ
ของตนก่อนก็ตาม กัปปิยการกจงให้การถ้อยคำของคนทั้ง 2 ก็ตาม อุบาสก
นอกนี้จงให้การถ้อยคำแม้ของคนทั้ง 2 ก็ตามที เมื่อชนทั้ง 2 แถลงบอกอยู่
โดยประการใดประการหนึ่ง เป็นทุกกฏแก่ภิกษุณีผู้แถลงให้การครั้งแรก เป็น
ถุลลัจจัยในการแถลงให้การครั้งที่ 2.

แต่เมื่อพวกตุลาการ ฟังถ้อยแถลงของคนทั้ง 2 ฝ่ายที่แถลงให้การไป
โดยประการอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำการตัดสินแล้ว คดีเป็นอันถึงที่สุด. ในคดี
ที่ถึงที่สุดนั้น ภิกษุณีจะชนะคดีก็ตาม แพ้ก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส.
แต่ถ้าว่า อธิกรณ์ที่ดำเนินเป็นคดีกันแล้ว เป็นเรื่องที่พวกตุลาการเคย
ได้ทราบมาก่อน ถ้าพวกตุลาการเหล่านั้น พอเห็นภิกษุณีและผู้ก่อคดี จึง
กล่าวว่า ไม่มีกิจที่จะต้องสอบสวนพวกท่าน พวกเรารู้เรื่องนี้ แล้วจึงตัดสิน
ให้เสียเองทีเดียว. แม้ในคดีถึงที่สุดเห็นปานนี้ก็ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณี.
สังฆาทิเสสนี้ มีการต้องแต่แรกทำ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปฐมาปัต-
ตกะ.
ความว่า พึงต้องในขณะที่ล่วงละเมิดนั่นเอง. ซึ่งสังฆาทิเสสนั้น มีอัน
อาบัติขณะแรกทำ. แต่ในบทภาชนะ เพื่อแสดงแต่เพียงความประสงค์ พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุ-
ภาส.
ก็ในคำนี้ มีใจความดังต่อไปนี้ :- ภิกษุณีต้องอาบัติพร้อมกับการ
ล่วงละเมิดวัตถุ ไม่ใช่ในเวลาสวดสมนุภาสครั้งที่ 3 สังฆาทิเสสนี้ชื่อว่า
ปฐมาปัตติกะ เพราะจะพึงต้องพร้อมกับการล่วงละเมิดวัตถุ ตั้งแต่แรก
ทีเดียวแล.
สังฆาทิเสสนี้ ชื่อว่า นิสสารณียะ เพราะอรรถว่า ขับออกจากหมู่
ภิกษุณี. ซึ่งสังฆาทิเสสมีการขับออกจากหมู่นั้น. แต่ในบทภาชนะ เพื่อแสดง
แต่เพียงความประสงค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สงฺฆมฺหา นิสฺสารียติ.
ในบทว่า นิสฺสารณียํ นั้น บัณฑิตพึงเห็นใจความอย่างนี้ว่า ภิกษุณีต้อง
สังฆาทิเสสใด ถูกขับไล่ออกจากหมู่ สังฆาทิเสสนั้นชื่อว่า นิสสารณียะ.
จริงอยู่ ธรรม คือ อาบัตินั้นใครจะขับออกจากหมู่ไม่ได้เลย แต่ภิกษุณีถูก
ธรรมนั้นขับออกไป เพราะฉะนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า นิสสารณียะ ด้วย
อรรถว่า ขับออก.

สองบทว่า อากฑฺฒียมานา คจฺฉติ มีความว่า ภิกษุณีถูกพวก
ชาวบ้านผู้ก่อคดีมาด้วยตนเองหรือส่งทูตมา เรียกตัวไปยังสำนักงานของพวก
ตุลาการ. ต่อจากนั้นผู้ก่อคดีจะแถลงถ้อยคำของตนก่อน หรือถ้อยคำของภิกษุณี
ก่อนก็ตามที ในการแถลงครั้งแรก ก็ไม่เป็นทุกกฏเลย ในการแถลงให้การ
ครั้งที่ 2 ก็ไม่เป็นถุลลัจจัย. แม้ในคดีที่พวกอำมาตย์ทำการวินิจฉัยถึงที่สุด
ลงแล้ว ก็ไม่เป็นอาบัติเช่นกัน. ถ้าแม้ว่า ผู้ก่อคดีกล่าวกะภิกษุณีว่า ขอให้
ท่านนั่นแหละจงแถลงถ้อยคำของผมและของท่าน. ถึงแม้เมื่อภิกษุณีแถลง
พวกอำมาตย์ได้พึงถ้อยคำแล้ว ทำคดีให้ถึงที่สุด ก็ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน.

ว่าด้วยการขออารักขาจากทางบ้านเมือง


สองบทว่า อารกฺขํ ยาจติ ได้แก่ ขออารักขาอันเป็นธรรมไม่เป็น
อาบัติ. บัดนี้ เพื่อแสดงวิธีขออารักขาที่เป็นธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า บอกไม่เจาะตัว.
ในคำว่า อนุทฺทิสฺส อาจิกฺขติ นั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ปรารภอดีต
บอกเจาะตัวก็มี บอกไม่เจาะตัวก็มี แม้ปรารภอนาคตบอกเจาะตัวก็มี บอก
ไม่เจาะตัวก็มี.
ปรารภอดีตบอกเจาะตัวเป็นอย่างไร ? คือ ที่สำนักของภิกษุณี พวก
เด็กชาวบ้าน หรือคนอันธพาลมีนักเลงเป็นต้น พวกใดพวกหนึ่งพระพฤติ
อนาจารก็ดี ตัดต้นไม้ก็ดี ขโมยผลไม้น้อยใหญ่ก็ดี แย่งชิงเอาบริขารก็ดี.
ภิกษุณีเข้าไปหาพวกเจ้าหน้าที่รักษากฎหมายบอกว่า ที่สำนักของพวกเราถูกทำ
ประทุษกรรมชื่อนี้ เมื่อเขาถามว่า ใครทำ บอกว่า คนโน้นและคนโน้น.
ด้วยอาการอย่างนี้ จัดเป็นการบอกเจาะตัวปรารภอดีต. การบอกเจาะตัวนั้น
ไม่ควร. ถ้าพวกเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายเหล่านั้น ฟังคำนั้นแล้วทำการปรับ
ไหมแก่ชนเหล่านั้น ทรัพย์ทั้งหมดที่ถูกปรับไหม เป็นสินใช้แก่ภิกษุณี. แม้