เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สิกขาสมมติในธรรม 6 ประการ
ตลอด 2 ปี แก่สามเณรีผู้ยังเป็นกุมารี มีอายุ 18 ปี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสิกขาสมมตินั้น อันภิกษุณีพึงให้อย่างนี้:-

วิธีให้สิกขาสมมติแก่สามเณรีอายุ 18 ปี


อันสามเณรีผู้มีอายุ 18 ปีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์
เฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลายแล้ว นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี กล่าว
อย่างนี้ว่า.
แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นสามเณรีของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุ 18 ปี ขอ
สิกขาสมมติในธรรม 6 ประการ ตลอด 2 ปี ต่อสงฆ์.
พึงขอแม้ครั้งที่สอง. พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม
วาจา ว่าดังนี้;-

กรรมวาจา


แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรีนี้ชื่อนี้ ของแม่เจ้า
ชื่อนี้ มีอายุ 18 ปี ขอสิกขาสมมติในธรรม 6 ประการ ตลอด 2 ปี
ต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สิกขา
สมมติในธรรม 6 ประการ ตลอด 2 ปี แก่สามเณรชื่อนี้ ผู้มีอายุ
18 ปี นี่เป็นญัตติ.
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สามเณรีนี้ชื่อนี้ ของแม่เจ้า
ชื่อนี้ มีอายุ 18 ปี ขอสิกขาสมมติในธรรม 6 ประการ ตลอด 2 ปี
ต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม 6 ประการ ตลอด 2 ปี แก่
สามเณรี ชื่อนี้ ผู้มีอายุ 18 ปี การให้สิกขาสมมติในธรรม 6 ประการ

ตลอด 2 ปี แก่สามเณรีชื่อนี้ มีอายุ 18 ปี ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด
แม่เจ้าผู้นั้นพึงนิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
สิกขาสมมติในธรรม 6 ประการ ตลอด 2 ปี สงฆ์ให้แล้วแก่
สามเณรชื่อนี้ ผู้มีอายุ 18 ปี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถนั้น พึงกล่าวกะสามเณรีผู้มีอายุ 18 ปีนั้น
ว่าเธอจงกล่าวอย่างนี้ แล้วพึงกล่าวว่า ดังนี้;-
1. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขา คือ เว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
มั่น ไม่ล่วงละเมิดตลอด 2 ปี.
2. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขา คือ เว้นจากถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้
มั่น ไม่ละเมิดตลอด 2 ปี.
3. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขา คือ เว้นจากประพฤติผิดมิใช่กิจพรหมจรรย์
มั่น ไม่ล่วงละเมิดตลอด 2 ปี.
4. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขา คือ เว้นจากพูดเท็จ มั่น ไม่ล่วงละเมิด
ตลอด 2 ปี.
5. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขา คือ เว้นจากน้ำเมาคือสุราเมรัย อันเป็น
ฐานแห่งความประมาท มั่น ไม่ล่วงละเมิด ตลอด 2 ปี.
6. ข้าพเจ้าสมาทานสิกขา คือเว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล มั่น
ไม่ล่วงละเมิด ตลอด 2 ปี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีเหล่านั้น โดยอเนกปริยายดังนี้
แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


127. 2. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังสตรีผู้เป็นกุมารี มีอายุครบ
20 ปีแล้ว ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขาในธรรม 6 ประการ ตลอด 2 ฝน
ให้บวช เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์


[406] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มีอายุครบ 20 ปีแล้ว คือ มีอายุถึง 20 ฝนแล้ว.
ที่ชื่อว่า สตรีผู้เป็นกุมารี ได้แก่ สตรีที่เรียกกันว่าสามเณรี.
บทว่า ตลอด 2 ฝน คือ ตลอด 2 ปี.
ที่ชื่อว่า ผู้ยังมิได้ศึกษาสิกขา คือ สงฆ์ยังไม่ได้ให้สิกขา หรือ
ให้แล้วแต่เธอทำขาดเสีย.
บทว่า ให้บวช คือ อุปสมบท.
ตั้งใจว่าจักให้บวช แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวร
ก็ดี สมมติสีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา
สองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏสองตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.