เมนู

ที่ชื่อว่า กล่าวหาเรื่อง ได้แก่ ที่เขาเรียกว่าผู้ก่อคดี.
ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ บุรุษผู้ครอบครองเรือนคนใดคนหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า บุตรคหบดี ได้แก่ บุตรหรือพี่น้องชายคนใดคนหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า ทาส ได้แก่ ทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย ทาสสินไถ่ ทาสเชลย.
ที่ชื่อว่า กรรมกร ได้แก่ งานรับจ้าง คนที่ถูกเกณฑ์มา.
ที่ชื่อว่า สมณะปริพาชก ได้แก่บุรุษคนใดคนหนึ่งผู้เข้าบวชเป็น
ปริพาชก เว้นภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร และสามเณรี.
ภิกษุณีแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ด้วยตั้งใจว่า จักก่อคดี ต้องอาบัติ
ทุกกฏ บอกแจ้งเรื่องของคนหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ แจ้งเรื่องของคนที่ 2
ต้องอาบัติถุลลัจจัย คดีถึงที่สุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
[33] บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ ความว่า ต้อง
อาบัติพร้อมกับล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุภาส.
ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ขับออกจากหมู่.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้น ให้มานัตเพื่ออาบัตินั้น
ชักเข้าหาอาบัติเดิม เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่ภิกษุณีรูป
เดียวเพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่าสังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือ เป็นชื่อ
ของอาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส

อนาปัตติวาร


[34] ภิกษุณีถูกมนุษย์เกาะตัวไป 1 ขออารักขา 1 บอกไม่เจาะตัว 1
วิกลจริต 1 ภิกษุณีอาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆทิเสสสิกขาบทที่ 1 จบ

อรรถกถาสัตตรสกัณฑ์


บัดนี้ จักมีการพรรณนาอรรถที่ยังไม่
กระจ่าง แห่งสังฆาทิเสสกัณฑ์ อันเป็น
ลำดับถัดจากปาราชิกมา ดังต่อไปนี้.

สัตตรสสังหาทิเสสสิกขาบทที่ 1


ว่าด้วยเรื่องภิกษุณีเป็นโจทก์ฟ้องคดีในโรงศาล

บทว่า อุทฺโทสิตํ แปลว่า โรงเก็บของ.
คำว่า มายฺโย เอวํ อวจ แปลว่า นาย ! อย่าได้พูดอย่างนั้น.
บทว่า อปินฺวยฺยา ตัดบทเป็น อปิ นุ อยฺยา แปลว่าพ่อคุณ. . .
บ้างไหม ?
บทว่า อุจฺจาวทถ แปลว่า พวกท่านจงกล่าวล่วงเกิน มีคำอธิบายว่า
จงด่า.
บทว่า อุสูยวาทกา ได้แก่ เป็นผู้ชอบกล่าวหาเรื่องด้วยอำนาจความ
ริษยา เพราะมานะ ด้วยอำนาจความริษยา เพราะความโกรธ. แต่เพราะ
ถูลนันทาภิกษุณีนั้น เป็นผู้ชอบก่อคดีโดยสภาพ ฉะนั้น จึงได้ตรัสไว้ในบท
ภาชนะว่า ที่ชื่อว่าชอบกล่าวหาเรื่อง ได้แก่ ที่ท่านเรียกว่า ชอบก่อคดี.
ก็ในคำว่า อฏฺฏการิกา นี้ การวินิจฉัยของพวกตุลาการ ท่านเรียกว่า
คดี ซึ่งทางฝ่ายบรรพชิตเรียกว่า อธิกรณ์ บ้างก็มี.
สองบทว่า ทุติยํ วา ปริเยสติ มีความว่า ภิกษุณีผู้ก่อคดีแสวง
หาพยาน หรือเพื่อน เป็นทุกกฏ.