เมนู

ติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่าไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ชอบเป็นคนกล่าวหาเรื่องเล่า แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่
ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาชอบกล่าวหาเรื่อง จริงหรือ.
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ชอบกล่าวหาเรื่องเล่า การกระทำของนางนั่นไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ


9.1. อนึ่ง ภิกษุณีใด ชอบกล่าวหาเรื่องกับคหบดีก็ดี บุตร
คหบดีก็ดี ทาสก็ดี กรรมกรก็ดี โดยที่สุด แม้สมณะปริพาชก ภิกษุณี
นี้ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติขณะ
แรกทำ.

เรื่องอุบาสกกับภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[32] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ . . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า กล่าวหาเรื่อง ได้แก่ ที่เขาเรียกว่าผู้ก่อคดี.
ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ บุรุษผู้ครอบครองเรือนคนใดคนหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า บุตรคหบดี ได้แก่ บุตรหรือพี่น้องชายคนใดคนหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า ทาส ได้แก่ ทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย ทาสสินไถ่ ทาสเชลย.
ที่ชื่อว่า กรรมกร ได้แก่ งานรับจ้าง คนที่ถูกเกณฑ์มา.
ที่ชื่อว่า สมณะปริพาชก ได้แก่บุรุษคนใดคนหนึ่งผู้เข้าบวชเป็น
ปริพาชก เว้นภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร และสามเณรี.
ภิกษุณีแสวงหาเพื่อนก็ดี เดินไปก็ดี ด้วยตั้งใจว่า จักก่อคดี ต้องอาบัติ
ทุกกฏ บอกแจ้งเรื่องของคนหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ แจ้งเรื่องของคนที่ 2
ต้องอาบัติถุลลัจจัย คดีถึงที่สุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
[33] บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติขณะแรกทำ ความว่า ต้อง
อาบัติพร้อมกับล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุภาส.
ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ขับออกจากหมู่.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้น ให้มานัตเพื่ออาบัตินั้น
ชักเข้าหาอาบัติเดิม เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่ภิกษุณีรูป
เดียวเพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่าสังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือ เป็นชื่อ
ของอาบัตินิกายนั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส

อนาปัตติวาร


[34] ภิกษุณีถูกมนุษย์เกาะตัวไป 1 ขออารักขา 1 บอกไม่เจาะตัว 1
วิกลจริต 1 ภิกษุณีอาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆทิเสสสิกขาบทที่ 1 จบ