เมนู

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจึงได้หวงตระกูลเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


110. 5. อนึ่ง ภิกษุณีใด เป็นคนตระหนี่ตระกูล เป็น
ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์


[347] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ตระกูล ได้แก่ ตระกูลทั้ง 4 คือ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูล
พราหมณ์ ตระกูลแพทย์ ตระกูลศูทร.
บทว่า เป็นคนตระหนี่ตระกูล คือคิดว่า ทำไฉนภิกษุณีทั้งหลาย
จะไม่พึงมา แล้วกล่าวโทษของพวกพ้องในสำนักภิกษุณีทั้งหลาย ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ หรือกล่าวโทษของภิกษุณีทั้งหลายในสำนักของพวกพ้อง ก็ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร


[348] ไม่หวงตระกูล บอกโทษเท่าที่มีอยู่ 1 วิกลจริต 1 อาทิ-
กัมมิกา 1ไม่ต้องอาบัติแล.
อารามวรรค สิกขาบทที่ 5 จบ

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ 5


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 5 พึงทราบดังนี้:-
ความหวงแหนตระกูล ชื่อว่า ความตระหนี่ตระกูล. ความตระหนี่
ตระกูลมีแก่ภิกษุณีนั้น เหตุนั้น ภิกษุณีนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีความตระหนี่ตระกูล
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นคนตระหนี่ตระกูล เพราะอรรถว่าพระพฤติตัวเป็นคน
หวงแหนสกุล.
สองบทว่า กุลสฺส อวณฺณํ ได้แก่ กล่าวโทษว่า ตระกูลนั้น
ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส.
สองบทว่า ภิกฺขุนีนํ อวณฺณํ ได้แก่ กล่าวโทษของพวกภิกษุณี
ว่า พวกภิกษุณี เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก.
สองบทว่า สนฺตํเยว อาทีนวํ ได้แก่ บอกโทษมิใช่คุณที่มีอยู่
ของตระกูล หรือของพวกภิกษุณี. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ 5 จบ