เมนู

ภิกษุณีถุลลนันทาขึ้นเคียดกล่าวติคณะว่า ภิกษุณีเหล่านี้เขลา ภิกษุณี
เหล่านี้ไม่ฉลาด ภิกษุณีเหล่านี้ไม่รู้จักกรรม โทษอันสมควรแก่กรรม กรรม
วิบัติหรือกรรมสมบัติ.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ขึ้งเคียดกล่าวติคณะเล่า. . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาขึ้งเคียดกล่าวติคณะ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ขึ้งเคียดกล่าวติคณะเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


108. 3. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขึ้นเคียดกล่าวติคณะ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ

สิกขาบทวิภังค์


[340] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คื ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรคว่าเป็นผู้ขอ...
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า ขึ้งเคียด ได้แก่ กิริยาที่เขาเรียกกันว่าโกรธ.
ที่ชื่อว่า คณะ ได้แก่ หมู่ที่เรียกกันว่าภิกษุณีสงฆ์.
บทว่า กล่าวติ คือ ติโทษว่า ภิกษุณีเหล่านี้ไม่ฉลาด ภิกษุณี
เหล่านี้ไม่รู้จักกรรม โทษอันสมควรแก่กรรม กรรมวิบัติ หรือกรรมสมบัติ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กล่าวติภิกษุณีหลายรูป ภิกษุณีรูปเดียว หรืออนุปสัมบัน
ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[341] มุ่งอรรถ 1 มุ่งธรรม 1 มุ่งสั่งสอน 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา
1 ไม่ต้องอาบัติแล.
อรรถกถาวรรค สิกขาบทที่ 3 จบ

อรรถกถาอารามวรรค สิกขาบทที่ 3


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 3 พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า อนุสาสนีปุเรกฺขาย มีความว่า ภิกษุณีดำรงอยู่ในฝ่ายแห่ง
การพร่ำสอนกล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า แม้เดี่ยวนี้ เธอก็เป็นคนโง่ไม่ฉลาด ไม่
เป็นอาบัติ . คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น . สมุฏฐานเป็นต้นก็เป็นเช่นกับสิกขาบทถัด
ไปนั้นแล.
อรรถกถาอารามวรรค สิขาบทที่ 3 จบ