เมนู

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ให้ของเคี้ยวของบริโภคแก่ชาวบ้านด้วยมือของตนเอง
เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่
เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


101. 6. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้ของเคี้ยวหรือของบริโภคแก่
ชาวบ้านก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชกาก็ดี ด้วยมือของตัวเอง
เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[312] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ชาวบ้าน ได้แก่ บุคคลผู้ครองเรือนผู้ใดผู้หนึ่ง.
ที่ชื่อว่า ปริพาชก ได้แก่ บุรุษผู้ใดผู้หนึ่ง ผู้บวชเป็นปริพาชก
เว้นภิกษุ และสามเณร.
ที่ชื่อว่า ปริพาชิกา ได้แก่ สตรีผู้ใดผู้หนึ่ง ผู้บวชเป็นปริพาชิกา
เว้นภิกษุณี สิกขมานา และสามเณรี.

ที่ชื่อว่า

ของเคี้ยว

ได้แก่ ของเคี้ยว เว้นโภชนะ 5 น้ำและไม้
ชำระฟัน นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว.
ที่ชื่อว่า

ของบริโภค

ได้แก่ โภชนะ 5 คือข้าวสุก ขนมสด ขนม
แห้ง ปลา เนื้อ.
บทว่า

ให้

คือ ให้ด้วยกายก็ดี ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ดี ด้วยโยน
ให้ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ให้น้ำ ไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[313] ใช้ผู้อื่นให้ 1 มิได้ให้ 1 วางให้ 1 ให้ขอลูบไล้ภายนอก 1
วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ 6 จบ

อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ 6


คำทั้งหมดในสิกขาบทที่ 6 บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ใน
อาคารริกสิกขาบท ในนัคควรรคนั่นแล. แต่มีความแปลกกันอย่างนี้;-
อาคาริกสิกขาบทนั้น มีสมุฏฐาน 6 สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลม
สิกขาบท เพราะท่านกล่าวว่า ด้วยมือของตนเอง เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์
อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 แล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ 6 จบ