เมนู

จิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ 6


เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา


[311] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาให้ของเคี้ยวของบริโภค แก่พวกครูฟ้อนรำบ้าง แก่พวกฟ้อนรำบ้าง
แก่พวกโดดไม้สูงบ้าง แก่พวกจำอวดบ้าง แก่พวกเล่นกลองบ้าง ด้วยมือของ
ตน พร้อมกับสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงกล่าวสรรเสริญข้าพเจ้าในที่ชุมนุมชน พวก
ครูฟ้อนรำก็ดี พวกฟ้อนรำก็ดี พวกโดดไม้สูงก็ดี พวกจำอวดก็ดี พวกเล่น
กลองก็ดี ต่างก็สรรเสริญภิกษุณีถุลลนันทาในชุมนุมชนว่า แม่เจ้าถุลลนันทา
เป็นพหูสูต เป็นคนช่างพูด เป็นผู้องอาจ สามารถเจรจาถ้อยคำมีหลักฐาน
ท่านทั้งหลายจงถวายแก่แม่เจ้า จงทำแก่แม่เจ้า ดังนี้ .
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ให้ของเคี้ยวของบริโภคแก่พวกชาวบ้านด้วยมือ
ของตนเล่า. . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้ของเคี้ยวของบริโภคแก่ชาวบ้านด้วยมือของตนเอง
จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ 5


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 5 พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า อสติ อนฺตราเย ได้แก่ เมื่อไม่มีอันตราย 10 อย่าง.
ภิกษุณีทอดธุระแล้ว ภายหลังจึงวินิจฉัย ชื่อว่า ต้องอาบัติก่อนแล้วจึงวินิจฉัย.
สองบทว่า ปริเยสิตฺวา น ลภติ มีความว่า ไม่ได้ภิกษุณีทั้งหลาย
ผู้ร่วมมือ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น .
สิกขาบทนี้ มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เป็นอกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศล เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาจิตตาคารวรรค สิกขาบทที่ 5 จบ