เมนู

บทว่า เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันก็ดี ความว่า พอย่างเข้าสู่สถานที่อัน
มุงไว้ด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
บทว่า ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้นก็ดี ความว่า อยู่ใน
ระยะช่วงมือของบุรุษ แล้วทอดกายเพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
[28] บทว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียง
ภิกษุณีรูปก่อน.

อุปมาด้วยตาลยอดด้วน


บทว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ต้นตาลมียอดด้วนแล้วไม่อาจงอก
อีกได้ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุณีก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำวัตถุถึงที่ 8 ไม่ใช่สมณะ
ไม่ใช่ธิดาของพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่าสังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทำ
ร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส
สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุณีนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.

อนาปัตติวาร


[29] ไม่จงใจ 1 เผลอสติ 1 ไม่รู้ตัว 1 ไม่ยินดี 1 วิกลจริต 1 มีจิต
ฟุ้งซ่าน 1 กระสับกระส่ายเพราะเวทนา 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาราชิกสิกขาบทที่ 4 จบ

[30] แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาราชิก 8 สิกขาบท1 ดิฉันยกขึ้น
แสดงแล้วแล ภิกษุณีต้องอาบัติปาราชิกอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมไม่ได้อยู่ร่วมกับ
ภิกษุณีทั้งหลาย ในภายหลัง เหมือนในกาลก่อน เป็นปาราชิกหาสังวาสมิได้
ดิฉันขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในอาบัติปาราชิกเหล่านั้นว่า แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์
แล้วหรือ ดิฉันขอถามแม้ครั้งที่สองว่า แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ ดิฉัน
ขอถามแม้ครั้งที่สามว่า แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ แม่เจ้าทั้งหลายเป็นผู้
บริสุทธิ์ในอาบัติปาราชิกเหล่านี้แล้ว เหตุนั้น จึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วย
อย่างนี้แล.
ปาราชิกกัณฑ์ จบ

1. สิกขาบทที่ 5 ถึง 8 เหมือนของภิกษุ แต่ใช้สำนวนต่างโดยควรแก่เพศ ส่วนในอุภโตปาติ-
โมกข นับส่วนหนึ่งที่เหมือนของภิกษุ ตั้งเป็นจำนวนครบ 4 แล้ว จึงนับส่วนของภิกษุณีต่อจนครบ 4.

อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ 4


วินิจฉัยในปาราชิกสิกขาบทที่ 4 พึงทราบดังนี้ :-
แก้อรรถบางปาฐะและบางเรื่องในจตุตถปาราชิก
บทว่า อวสฺสุตา ได้แก่ ผู้กำหนัดด้วยกายสังสัคคราคะ ด้วยอำนาจ
มิตตสันถวะ กล่าวคือ ความยินดีทางโลกีย์. แม้ในบทที่ 2 ก็นัยนี้นั่นแล.
ก็ในคำว่า ปุริสปุคฺคลสฺส หตฺถคฺคหณํ วา เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า
การจับมือที่บุคคลผู้ชายทำแล้ว ตรัสเรียกว่า การจับมือแห่งบุรุษบุคคล. แม้
ในการจับชายผ้าสังฆาฎิ ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่การจับมือ และการจับแม้อย่าง
อื่นในเขตที่ไม่เป็นปาราชิก บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านรวมเข้าเป็นอันเดียวกัน
เรียกว่าการจับมือ ในคำว่า หตฺถคฺคหณํ นี้. ด้วยเหตุนั้นแล ในบทภาชนะ
แห่งบทว่า ทตฺถคฺคหณํ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สองบทว่า
หตฺถคฺคหณํ วา สาทิเยยฺย มีความว่า ที่ชื่อว่ามือ กำหนดตั้งแต่ข้อศอกไป
จนถึงปลายเล็บ, ภิกษุณียินดีการจับอวัยวะเหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้มณฑลเข่า
ลงมา เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย. แต่ในบทว่า
อสทฺธมฺโม นี้ การเคล้าคลึงกาย พึงทราบว่า อสัทธรรม ไม่ใช่เมถุนธรรม.
แท้จริงถุลลัจจัยหาใกล้เคียงต่อเมถุนธรรมไม่. อนึ่ง แม้คำว่า เป็นผู้รู้ความ
เป็นผู้สามารถเพื่อถึงความเคล้าคลึงกาย ก็เป็นเครื่องสาธกได้ ในบทว่า อสทฺ-
ธมฺโม
นี้.
หากผู้ท้วง จะพึงท้วงว่า คำที่ท่านกล่าวว่า การเคล้าคลึงกาย พึงทราบ
ว่า อสัทธรรม ก็ผิดจากเสทโมจนคาถา ที่ตรัสไว้ในคัมภีร์ปริวารนี้ว่า