เมนู

พระบัญญัติ


95. 10. อนึ่ง ภิกษุณีใด อยู่จำตลอดฤดูฝนแล้ว ไม่หลีก
ไปสู่จาริก โดยที่สุดแม้สิ้นหนทาง 5 - 6 โยชน์ เป็นปาจิตตีย์
.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์


[293] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า อยู่จำตลอดฤดูฝนแล้ว คือ อยู่จำตลอดฤดูฝนสามเดือน
ต้น หรือสามเดือนหลังแล้ว พอทอดธุระว่าจักไม่หลีกไปสู่จาริก สิ้นหนทาง
อย่างต่ำ 5- 6 โยชน์ ดังนี้เท่านั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร


[294] ในเมื่ออันตรายมี 1 แสวงหาภิกษุณีเป็นเพื่อนแล้วไม่ได้ 1
อาพาธ 1 มีอันตราย 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ 10 จบ
ตุวัฏฏวรรคที่ 4 จบ

อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ 10


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 10 พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า อาหุนฺทริกา แปลว่า คับแคบ.
สองบทว่า ธุรํ นิกฺขิตฺตมตฺเต มีความว่า ถ้าแม้นว่า ภิกษุณี
ทอดธุระแล้ว ภายหลังจึงหลีกไป เป็นอาบัติเหมือนกัน. แม้เมื่อปวารณาแล้ว
ไปสิ้น 5 โยชน์ ไม่เป็นอาบัติ. ใน 6 โยชน์ ไม่มีคำที่จะพึงกล่าวถึงเลย.
ก็ถ้าว่า ภิกษุณีไปได้ 3 โยชน์ แล้วย้อนกลับมาโดยทางเดิมนั่นแล ไม่ควร.
จะมาโดยทางอื่น ควรอยู่.
บทว่า อนฺตราเย คือ มีอันตราย 10 อย่าง. ภิกษุณีออกไปด้วย
คิดว่า เราจักไปละ แต่ห้วงน้ำหลากมาเต็มแม่น้ำ หรือมีพวกโจรดักซุ่มอยู่
ใกล้ทาง หรือเมฆตั้งเค้ามา จะกลับมา ก็ควร. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจปฐมปาราชก เป็นอกิริยา สญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ 10
อรรถกถาตุวัฏฏวรรค ที่ 4 จบ