เมนู

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงมีความกำหนัด ยินดีการที่บุรุษบุคคลผู้กำหนัดจับมือบ้าง จับ
ชายผ้าสังฆาฏิบ้าง ยืนด้วยบ้าง สนทนาด้วยบ้าง ไปสู่ที่นัดแนะกันบ้าง ยินดี
การที่บุรุษมาหาตามนัดบ้าง เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันบ้าง ทอดกายเพื่อประโยชน์
แก่บุรุษนั้น เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั้นบ้าง การกระทำของพวกนางนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ


8.4. อนึ่ง ภิกษุณีใด มีความกำหนัด ยินดีการที่บุรุษบุคคล
ผู้กำหนัดจับมือก็ดี จับชายผ้าสังฆาฏิก็ดี ยินด้วยก็ดี สนทนาด้วย
ก็ดี ไปสู่ที่นัดหมายกันก็ดี ยินดีการที่บุรุษมาหาตามนัดก็ดี เข้าไป
สู่ที่มุงด้วยกันก็ดี ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้น เพื่อประสงค์
จะเสพอสัทธรรมนั้นก็ดี แม่ภิกษุณีนี้ก็เป็นปาราชิก ชื่ออัฏฐวัตถุกา
หาสังวาสมิได้.

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์


[27] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.

ที่ชื่อว่า มีความกำหนัด คือ มีความยินดียิ่ง มีความเพ่งเล็ง มี
จิตปฏิพัทธ์.
ที่ชื่อว่า ผู้กำหนัด คือ กำหนัดนักแล้ว มีความเพ่งเล็ง มีจิต
ปฏิพัทธ์.
ที่ชื่อว่า บุรุษบุคคล ได้แก่มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ผู้ชาย ไม่ใช่
เปรตผู้ชาย ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถเพื่อถึงความ
เคล้าคลึงด้วยกาย.
บทว่า ยินดีการจับมือก็ดี ความว่า ที่ชื่อว่า มือ กำหนดตั้งแต่
ข้อศอกถึงปลายเล็บ ภิกษุณียินดีการจับอวัยวะเหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้เข่าลง
มา เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
บทว่า ยินดีการจับชายผ้าสังฆาฏิก็ดี คือ ยินดีการจับผ้านุ่งก็ดี
ผ้าห่มก็ดี เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
บทว่า ยินด้วยก็ดี ความว่า ยืนอยู่ในระยะช่วงมือของบุรุษ เพื่อ
ประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
บทว่า สนทนาด้วยก็ดี ความว่า ยืนพูดอยู่ในระยะช่วงมือของ
บุรุษ เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
บทว่า ไปสู่ที่นัดแนะกันก็ดี ความว่า บุรุษพูดนัดว่า โปรดมา
สู่สถานที่ชื่อนี้ ดังนี้ ภิกษุณีไปเพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติ
ทุกกฏทุก ๆ ก้าว พอย่างเข้าระยะช่วงมือของบุรุษ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
บทว่า ยินดีการที่บุรุษมาหาตามนัดก็ดี ความว่า ยินดีการมา
ตามนัดของบุรุษ เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติทุกกฏ พอ
ย่างเข้าระยะช่วงมือ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

บทว่า เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันก็ดี ความว่า พอย่างเข้าสู่สถานที่อัน
มุงไว้ด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
บทว่า ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้นก็ดี ความว่า อยู่ใน
ระยะช่วงมือของบุรุษ แล้วทอดกายเพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย.
[28] บทว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียง
ภิกษุณีรูปก่อน.

อุปมาด้วยตาลยอดด้วน


บทว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ต้นตาลมียอดด้วนแล้วไม่อาจงอก
อีกได้ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุณีก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำวัตถุถึงที่ 8 ไม่ใช่สมณะ
ไม่ใช่ธิดาของพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่าสังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทำ
ร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส
สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุณีนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.

อนาปัตติวาร


[29] ไม่จงใจ 1 เผลอสติ 1 ไม่รู้ตัว 1 ไม่ยินดี 1 วิกลจริต 1 มีจิต
ฟุ้งซ่าน 1 กระสับกระส่ายเพราะเวทนา 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาราชิกสิกขาบทที่ 4 จบ