เมนู

สิกขาบทวิภังค์


[273] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า แก่ภิกษุณี คือภิกษุณีรูปอื่น.
ที่ชื่อว่า ห้องพัก ได้แก่ อาคารที่เรียกว่าติดบานประตู.
บทว่า ให้ คือให้ด้วยตนเอง.
บทว่า โกรธ ขัดใจ คือ ไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ.
บทว่า ฉุดคร่าเอง ความว่า จับในห้องแล้วคร่าออกมาหน้ามุข ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ จับที่หน้ามุขแล้วคร่าออกมาข้างนอก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ จับ
ฉุดมาครั้งเดียวให้ก้าวพ้นประตูแม้มาก ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้ฉุดคร่า คือ สั่งผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ สั่งครั้งเดียว
ผู้รับสั่งให้ก้าวพ้นประตูแม้มาก ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


ติกะปาจิตตีย์


[274] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ให้ห้องพัก แล้ว
โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่าเองก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ให้ห้องพักแล้ว โกรธ ขัดใจ ฉุดคร่า
เองก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ให้ห้องพักแล้ว โกรธ ขัดใจ
ฉุดคร่าเองก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อัฏฐกะทุกกฏ


ขนเองก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของเขา ต้องอาบัติทุกกฏ.
ฉุดคร่าเองก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี จากสถานที่ไม่มีบานประตู ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
ขนเองก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของเขา ต้องอาบัติทุกกฏ.
ฉุดคร่าเองก็ดี ให้ฉุดคร่าก็ดี ซึ่งอนุปสัมบัน จากสถานที่มีบานประตู
หรือจากสถานที่ไม่มีบานประตู ต้องอาบัติทุกกฏ.
ขนเองก็ดี ให้ขนก็ดี ซึ่งบริขารของเขา ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[275] ฉุดคร่าเองหรือใช้ผู้อื่นฉุดคร่าซึ่งภิกษุณีอลัชชี ขนเองหรือ
ใช้ผู้อื่นขนซึ่งบริขารของเขา 1 ฉุดคร่าเองหรือใช้ผู้อื่นฉุดคร่าซึ่งภิกษุณีวิกล-
จริต ขนเองหรือใช้ผู้อื่นขนซึ่งบริขารของเขา 1. . . ซึ่งภิกษุณีผู้ก่อความ
บาดหมาง. . . 1. . . ซึ่งภิกษุณีผู้ก่อการทะเลาะ.. . 1 . . . ซึ่งภิกษุณีผู้ก่อการ
วิวาท. . .1. . . ซึ่งภิกษุณีผู้ก่อการอื้อฉาว. . . 1. . . ซึ่งภิกษุณีผู้ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์. . .1 . . . ซึ่งอันเตวาสินีหรือสัทธิวิหารินีผู้ประพฤติไม่ชอบ. . . 1
วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ 5 จบ