เมนู

บทภาชนีย์


ติกะปาจิตตีย์


[267] อุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณีแกล้ง
ก่อความไม่สำราญให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสงสัย แกล้งก่อความไม่สำราญให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณี แกล้งก่อความไม่
สำราญให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกะทุกกฏ


อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณี ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบันภิกษุณี ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[268] ไม่ประสงค์จะก่อความไม่สำราญให้ ขอโอกาสแล้ว จึงจงกรม
ก็ดี ยืนก็ดี นั่งก็ดี สำเร็จการนอนก็ดี บรรยายเองก็ดี ให้ผู้อื่นบรรยายก็ดี
ท่องบ่นก็ดี ในเบื้องหน้า 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ 3 จบ

อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ 3


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 3 พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อุฬารสมฺภาวิตา มีความว่า อันคนทั้งหลายยกย่องว่าเป็น
ผู้เยี่ยมกว่า เพราะเป็นผู้บวชจากตระกูลสูง และเพราะเป็นผู้เยี่ยมกว่าโดยคุณ
ทั้งหลาย.
บทว่า อิสฺสาปกตา มีความว่า ผู้ถูกความริษยาย่ำยี คือครอบงำแล้ว.
ภิกษุณีเหล่านี้ มีการอภิปรายมากมาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้
สาละวนอยู่ด้วยการอภิปรายให้คนอื่นเข้าใจ. อธิบายว่า ชี้แจงให้มหาชนเข้าใจ
ตลอดทั้งวัน.
ภิกษุณีเหล่านี้ มีการชี้แจงอรรถให้แจ่มแจ้งมากมาย เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ผู้สาละวนอยู่ด้วยการชี้แจงอรรถให้แจ่มแจ้ง.
พึงทราบว่า วิญฺญิตติ ได้แก่ การชี้แจงอรรถให้แจ่มแจ้ง โดยนัย
ต่าง ๆ มีเหตุและอุทาหรณ์เป็นต้น. ไม่พึงเข้าใจว่า การออกปากขอ. พึงทราบ
ว่า เป็นอาบัติมากตัว โดยนับการเดินกลับไปมา ในการจงกรม
ในคำว่า ติฏฺฐติ วา เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นอาบัติมากตัว โดย
นับประโยค.
ในคำว่า อุทฺทิสติ วา เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นอาบัติมากตัว โดย
การนับบทเป็นต้น คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาตุวีฏฏวรรค สิกขาบทที่ 3 จบ