เมนู

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี-
ถุลลนันทาจึงได้แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่ภิกษุณีภัททากาปิลานีเล่า การ
กระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


88. 3. อนึ่ง ภิกษุณีใด แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่
ภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์ .

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[266] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด . . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า แก่ภิกษุณี คือ แก่ภิกษุณีรูปอื่น.
บทว่า แกล้ง คือ รู้ รู้ดี จงใจ ตั้งใจละเมิด.
บทว่า ก่อความไม่สำราญให้ คือ คิดว่าด้วยวิธีนี้ความไม่ผาสุก
จักมีแก่ภิกษุณีรูปนี้ แล้วไม่ขอโอกาส จงกรมก็ดี ยืนก็ดี นั่งก็ดี สำเร็จการ
นอนก็ดี บรรยายเองก็ดี ให้ผู้อื่นบรรยายก็ดี ท่องบ่นก็ดี ในเบื้องหน้า ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


ติกะปาจิตตีย์


[267] อุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณีแกล้ง
ก่อความไม่สำราญให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสงสัย แกล้งก่อความไม่สำราญให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณี แกล้งก่อความไม่
สำราญให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ติกะทุกกฏ


อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณี ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบันภิกษุณี ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[268] ไม่ประสงค์จะก่อความไม่สำราญให้ ขอโอกาสแล้ว จึงจงกรม
ก็ดี ยืนก็ดี นั่งก็ดี สำเร็จการนอนก็ดี บรรยายเองก็ดี ให้ผู้อื่นบรรยายก็ดี
ท่องบ่นก็ดี ในเบื้องหน้า 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ 3 จบ