เมนู

ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ 3


เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา


[265] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชต-
วัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาเป็นคนคงแก่เรียน เป็นคนช่างพูด เป็นคนองอาจ สามารถกล่าว
ถ้อยคำมีหลักฐาน แม้ภิกษุณีภัททากาปิลานีก็เป็นคนคงแก่เรียน เป็นคนช่างพูด
เป็นคนองอาจสามารถกล่าวถ้อยคำมีหลักฐาน เป็นผู้ได้รับการสรรเสริญว่าเป็น
เยี่ยมกว่า จึงพากันเข้าไปหาภิกษุณีภัททากาปิลานีก่อน แล้วจึงเข้าไปหาภิกษุณี
ถุลลนันทาต่อภายหลัง ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นคนมักริษยา รู้ได้ดีว่า ธรรมดา
ภิกษุณีผู้สาละวนอยู่ด้วยการอภิปรายที่จะให้คนอื่นรู้เข้าใจเนื้อความแจ่มแจ้ง
ย่อมเป็นผู้มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ดังนั้น จึงจงกรม
บ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง สำเร็จการนอนบ้าง บรรยายเองบ้าง ให้ผู้อื่นบรรยาย
บ้าง ท่องบ่นบ้าง เบื้องหน้าภิกษุณีภัททากาปิลานี.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
นาทะว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่แม่เจ้าภัททา
กาปิลานีเล่า.

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาแกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่ภิกษุณีภัททากาปิลานี
จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี-
ถุลลนันทาจึงได้แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่ภิกษุณีภัททากาปิลานีเล่า การ
กระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


88. 3. อนึ่ง ภิกษุณีใด แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่
ภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์ .

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[266] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด . . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า แก่ภิกษุณี คือ แก่ภิกษุณีรูปอื่น.
บทว่า แกล้ง คือ รู้ รู้ดี จงใจ ตั้งใจละเมิด.
บทว่า ก่อความไม่สำราญให้ คือ คิดว่าด้วยวิธีนี้ความไม่ผาสุก
จักมีแก่ภิกษุณีรูปนี้ แล้วไม่ขอโอกาส จงกรมก็ดี ยืนก็ดี นั่งก็ดี สำเร็จการ
นอนก็ดี บรรยายเองก็ดี ให้ผู้อื่นบรรยายก็ดี ท่องบ่นก็ดี ในเบื้องหน้า ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.