เมนู

สิกขาบทวิภังค์


[255] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
การเดาะกฐินที่ชื่อว่า เป็นไปแล้วโดยธรรม คือ ภิกษุณีสงฆ์พร้อม
เพรียงประชุมกันเดาะ.
บทว่า ห้าม คือ ห้ามว่า กฐินนี้จะเดาะได้ด้วยวิธีไร ดังนี้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


[256] การเดาะเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นธรรม ห้าม ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
การเดาะเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
การเดาะเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นธรรม ไม่ต้องอาบัติ.
การเดาะไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
การเดาะไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
การเดาะไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นธรรม ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[257] แสดงอานิสงส์แล้วห้าม 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่
ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ 10 จบ
นัคควรรคที่ 3 จบ

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ 10


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 10 พึงทราบดังนี้:-
ในคำว่า กฐินุทฺธารํ น ทสฺสนฺติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- การเดาะ
กฐินเช่นไรสงฆ์ควรให้ เช่นไรไม่ควรให้ คือ การเดาะกฐิน เช่นอย่างที่มี
อานิสงส์มาก มีการกรานเป็นมูล มีอานิสงส์น้อย มีการเดาะเป็นมูล ไม่ควร
ให้. แต่การเดาะกฐินเช่นอย่างที่มีอานิสงส์น้อย มีการกรานเป็นมูล มีอานิ-
สงส์มาก มีการเดาะเป็นมูล ควรให้. การเดาะกฐินแม้มีอานิสงส์เท่า ๆ กัน.
สงฆ์ก็ควรให้ทีเดียว เพื่อรักษาศรัทธาไว้.
บทว่า อานิสํสํ มีความว่า ภิกษุณีแสดงอานิสงส์เห็นปานนี้ว่า
ภิกษุณีสงฆ์มีจีวรเก่า มีลาภมาก ซึ่งมีอานิสงส์แห่งกฐินเป็นมูล แล้วห้ามเสีย
ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก
วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา 3 แล.
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ 10 จบ
อรรถกถานัคควรรคที่ 3 จบ