เมนู

ที่ชื่อว่า หวังว่าจะได้จีวรอันไม่แน่นอน ได้แก่ วาจาที่เขาเปล่ง
ออกมาว่า ถ้าพวกข้าพเจ้าสามารถ ก็จักถวาย จักทำ.
ที่ชื่อว่า สมัยจีวรกาล คือ เมื่อกฐินยังไม่ได้กราน มีกำหนดเดือน
หนึ่งท้ายฤดูฝน เมื่อได้กรานกฐินแล้ว มีกำหนด 5 เดือน.
บทว่า ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ความว่า เมื่อไม่ได้กรานกฐิน
ยังวันที่กฐินเดาะให้ล่วงไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


[251] จีวรไม่แน่นอน ภิกษุณีสำคัญว่าจีวรไม่แน่นอน ยังสมัย
จีวรกาลให้ล่วงไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
จีวรไม่แน่นอน ภิกษุณีสงสัย ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
จีวรไม่แน่นอน ภิกษุณีสำคัญว่าแน่นอน ยังสมัยจีวรกาลให้ล่วงไป
ไม่ต้องอาบัติ.
จีวรแน่นอน ภิกษุสำคัญว่าจีวรไม่แน่นอน ต้องอาบัติทุกกฏ.
จีวรแน่นอน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
จีวรแน่นอน ภิกษุณีสำคัญว่าจีวรแน่นอน ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[252] แสดงอานิสงส์แล้วห้าม 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่
ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ 9 จบ

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ 9


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 9 พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ทุพฺพลจีวรปจฺจาสาย คือ ด้วยความหวังจะได้จีวรอันไม่
แน่นอน.
บทว่า อานิสํสํ มีความว่า ถึงแม้พวกชาวบ้านกล่าวว่า แม่เจ้า
พวกข้าพเจ้ายังไม่อาจ ดังนี้ ก็จริง เมื่อภิกษุณีแสดงอานิสงส์ห้ามอย่างนี้ว่า
เวลานี้ ฝ้ายจักมาถึงแก่ชาวบ้านนั้น บุรุษผู้มีศรัทธาเลื่อมใส จักมา จักถวาย
แน่นอน ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น.
สิขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลก-
วัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา 3 แล.
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ 9 จบ