เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ


83. 8. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้สมณีจีวรแก่ชาวบ้านก็ดี
ปริพาชกก็ดี ปริพาชิกาก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[247] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . .นี้ ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ชาวบ้าน ได้แก่ บุคคลผู้ยังครองเรือนอยู่.
ที่ชื่อว่า ปริพาชก ได้แก่ บุรุษคนใดคนหนึ่งผู้นับเนื่องในจำพวก
นักบวชชาย. เว้นภิกษุและสามเณร.
ที่ชื่อว่า ปริพาชิกา ได้แก่ สตรีคนใดคนหนึ่งผู้นับเนื่องในจำพวก
นักบวชหญิง เว้นภิกษุณี สิกขมานา และสามเณรี.
ที่ชื่อว่า สมณจีวร ได้แก่ ผ้าที่เรียกกันว่าทำกัปปะแล้ว ให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร


[248] ให้แก่มารดาบิดา 1 ให้ชั่วคราว 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1
ไม่ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ 8 จบ

อรรถกถานัคควรรค สิกขบทที่ 8


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 8 พึงทราบดังนี้:-
พวกชนผู้ฝึกหัดนักฟ้อนรำ ชื่อว่า ครูนักฟ้อนรำ. เหล่าชนผู้ฟ้อนรำ
ชื่อว่า พวกนักฟ้อนรำ. พวกชนผู้ทำการโดดบนราวและบนเชือกเป็นต้น ชื่อว่า
พวกโดดไม้สูง. พวกชนผู้แสดงกล ชื่อว่า พวกจำอวด. พวกชนผู้เล่นด้วยกลอง
ชื่อว่า พวกเล่นกลอง. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พวกบรรเลงปี่พาทย์ ก็มี.
ในคำว่า เทติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ บัณฑิตพึงทราบว่าเป็น
อาบัติหลายตัวตามจำนวนจีวร. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทว่า มีสมุฏฐาน 6 เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ฉะนี้แล.
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ 8 จบ