เมนู

นัคควรรค สิกขาบทที่ 8


เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา


[246] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี-
ถุลลนันทาให้สมณจีวรแก่พวกครูฟ้อนรำบ้าง พวกคนฟ้อนรำบ้าง พวกโดดไม้
สูงบ้าง พวกจำอวดบ้าง พวกเล่นกลองบ้าง ด้วยสั่งว่า พวกท่านจงกล่าวพรรณา
คุณของฉันในที่ชุมชน พวกครูฟ้อนรำก็ดี พวกฟ้อนรำก็ดี พวกโดดไม้สูงก็ดี
พวกจำอวดก็ดี พวกเล่นกลองก็ดี ย่อมกล่าวพรรณนาคุณของภิกษุณีถุลลนันทา
ในที่ชุมชนว่า แม่เจ้าถุลลนันทาเป็นผู้คงแก่เรียน เป็นคนช่างพูด เป็นผู้
องอาจ เป็นผู้สามารถเจรจา ถ้อยคำมีหลักฐาน ท่านทั้งหลายจงถวายแก่แม่เจ้า
จงทำแก่แม่เจ้า ดังนี้.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงให้สมณจีวรแก่ชาวบ้านเล่า. . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาให้สมณจีวรเเก่ชาวบ้าน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี
ถุลลนันทาจึงให้สมณจีวรแก่ชาวบ้านเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ


83. 8. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้สมณีจีวรแก่ชาวบ้านก็ดี
ปริพาชกก็ดี ปริพาชิกาก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[247] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . .นี้ ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ชาวบ้าน ได้แก่ บุคคลผู้ยังครองเรือนอยู่.
ที่ชื่อว่า ปริพาชก ได้แก่ บุรุษคนใดคนหนึ่งผู้นับเนื่องในจำพวก
นักบวชชาย. เว้นภิกษุและสามเณร.
ที่ชื่อว่า ปริพาชิกา ได้แก่ สตรีคนใดคนหนึ่งผู้นับเนื่องในจำพวก
นักบวชหญิง เว้นภิกษุณี สิกขมานา และสามเณรี.
ที่ชื่อว่า สมณจีวร ได้แก่ ผ้าที่เรียกกันว่าทำกัปปะแล้ว ให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร


[248] ให้แก่มารดาบิดา 1 ให้ชั่วคราว 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1
ไม่ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ 8 จบ