เมนู

บทภาชนีย์


ติกปาราชิก


[24] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมเป็นธรรม ไม่สละ
ต้องอาบัติปาราชิก.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติปาราชิก.
กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง
อาบัติปาราชิก.

ติกทุกกฏ


กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม. . .ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่ากรรมไม่เป็นธรรม. . .ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[25] ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส 1 ยอมสละเสีย 1 วิกลจริต 1 อาทิ-
กัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาราชิกสิกขาบทที่ 3 จบ

อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ 3


วินิจฉัยในปาราชิกสิกขาบทที่ 3 พึงทราบดังนี้ :-
แก้อรรถปาฐะบางตอนในปาราชิกสิกขาบทที่ 3
บทว่า ธมฺเมน ได้แก่ ตามวัตถุที่เป็นจริง.
บทว่า วินเยน ได้แก่ โจทแล้วให้ ๆ การ. ก็บทภาชนะแห่งสองบท
ว่า ธมฺเมน วินเยน นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อทรงแสดงเพียง
อธิบายนี้ว่า ผู้ที่ถูกสงฆ์ยกวัตรตามธรรมดาตามวินัย เป็นผู้ถูกยกวัตรชอบแล้ว .
บทว่า สตฺถุ สาสเนน ได้แก่ โดยญัตติสัมปทาและอนุสาวนา-
สัมปทา. แต่ในบทภาชนะแห่งบทว่า สตฺถุ สาสเนน นั้น ตรัสเพียงคำ
ไวพจน์เท่านั้นว่า โดยชินศาสน์ คือ โดยพุทธศาสน์.
ในคำว่า สงฺฆํ วา คณํ วา เป็นต้น มีวินิฉัยดังนี้ :- ไม่เชื่อ คือ
ไม่ประพฤติตามสงฆ์ผู้ซึ่งทำกรรม คณะ คือ บุคคลมากคน หรือบุคคลคน
เดียวผู้นับเนื่องในสงฆ์นั้น หรือกรรมนั้น อธิบายว่า ไม่ยังความเอื้อเฟื้อให้
เกิดขึ้นในสงฆ์เป็นต้นนั้น .
ในคำว่า สมานสํวาสกา ภิกฺขู วุจฺจนฺติ สหายา โส เตหิ สทฺธึ
นตฺถิ
นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ธรรมนี้ คือ กรรมอย่างเดียวกัน อุเทศอย่างเดียว
กัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน ชื่อว่า สังวาสก่อน. สังวาสแห่งภิกษุเหล่า
นั้นเสมอกัน; เหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงชื่อว่ามีสังวาสเสมอกัน. ภิกษุทั้งหลาย.
เห็นปานนี้ ตรัสเรียกว่า สหาย เพราะมีภาวะที่เป็นไปร่วมกันในสังวาสนั้น
แห่งภิกษุ.