เมนู

จตุกกะทุกกฏ


ภิกษุณีใช้จีวรสับเปลี่ยนของภิกษุณีอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีอนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าภิกษุณีอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีอนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุณีอนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าภิกษุณีอนุปสัมบัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[238] เจ้าของให้ หรือบอกกล่าวเจ้าของก่อน นุ่งก็ดี ห่มก็ดี ซึ่ง
จีวรนั้น 1 ถูกชิงจีวรไป 1 จีวรหาย 1 มีอันตราย 1 วิกลจริต 1 อาทิ-
กัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ 5 จบ

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ 5


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 5 พึงทราบดังนี้:-
บทว่า จีวรสงฺกมนียํ คือ จีวรที่สับเปลี่ยนกัน ความว่า จีวรที่
เป็นของภิกษุณีรูปอื่น อันภิกษุณีไม่บอกกล่าวเจ้าของก่อนถือเอาไปจะต้อง
กลับคืนให้.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ถ้าพวกโจรลักเอาผ้าที่ยังไม่ได้ห่มหรือยัง
ไม่ได้นุ่งไป. ในอันตรายเห็นปานนี้ นุ่งห่มไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนกฐินสิกขาบท เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา
โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3
มีเวทนา 3 แล.
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ 5 จบ

นัคควรรค สิกขาบทที่ 6


เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา


[239] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ตระกูล
อุปฐากของภิกษุณีถุลลนันทาว่า แม่เจ้า พวกข้าพเจ้าจักถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์.
ภิกษุณีถุลลนันทาได้ทำการขัดขวางว่า พวกท่านยังมีธุระมาก มีการ
งานที่ยังจะต้องทำมาก.
ต่อมาเรือนแห่งตระกูลนั้นถูกไฟไหม้ พวกเขาจึงเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ทำไทยธรรมของพวกเราให้เป็น
อันตรายเล่า พวกเราเป็นคนคลาดจากประโยชน์ทั้งสอง คือโภคะและบุญ.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้า
ถุลลนันทาจึงได้ทำลาภ คือ จีวรของหมู่ให้เป็นอันตรายเล่า. . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา ทำลาภ คือ จีวรของหมู่ให้เป็นอันตราย จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ทำลาภ คือ จีวรของหมู่ให้เป็นอันตรายเล่า การกระทำ
ของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .