เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


79. 4. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยังวาระผลัดเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิ อัน
มีกำหนด 5 วันให้เกินไป เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์


[232] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ยังวาระผลัดเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิอันมีกำหนด 5 วัน ให้
เกินไป
อธิบายว่า ไม่นุ่ง ไม่ห่ม ไม่ผึ่งผ้าจีวรทั้ง 5 ผืน ในวันคำรบห้า
ให้เลยวันคำรบห้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


ติกะปาจิตตีย์


[233] เลย 5 วัน ภิกษุณีสำคัญว่าเลย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เลย 5 วัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เลย 5 วัน ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่เลย ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ


ยังไม่เลย 5 วัน ภิกษุณีสำคัญว่าเลย ต้องอาบัติทุกกฎ.
ยังไม่เลย 5 วัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ


ยังไม่เลย 5 วัน ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่เลย ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[234] นุ่ง ห่ม หรือผึ่ง จีวรทั้ง 5 ผืนในวันคำรบห้า 1 อาพาธ
1 มีอันตราย 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ 4 จบ

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ 4


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 4 พึงทราบดังนี้:-
วัน 5 วัน ชื่อ ปัญจาหะ. ปัญจาหะนั้นเอง ชื่อว่า ปัญจาหิกะ
วาระผลัดเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิทั้งหลาย ชื่อว่า สังฆาฎิวาระ. การผลัดเปลี่ยนจีวร
5 ผืน ที่ได้ชื่อว่าสังฆาฎิ โดยอรรถว่า สับเปลี่ยนสลับกันไป ด้วยการบริโภค
ใช้สอยบ้าง ด้วยอำนาจการผึ่งแดดบ้าง. เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสไว้ในบทภาชนะว่า ให้จีวร 5 ผืนล่วงเลยวันคำรบ 5 ไป.
ก็ในคำว่า อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ มีวินิจฉัยว่า ในจีวรผืนเดียว
เป็นอาบัติตัวเดียว ในจีวร 5 ผืน เป็นอาบัติ 5 ตัว.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า จีวรมีราคาแพง เป็นขอที่ภิกษุณีไม่
อาจจะบริโภคใช้สอย เพราะอันตรายมีโจรภัยเป็นต้น ในอุปัทวะเห็นปานนี้
ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนกับกฐินสิกขาบท เป็นอกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 แล.
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ 4 จบ