เมนู

ตามสัตถุศาสน์ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาส
เสมอกันให้เป็นสหาย นางยังไม่ยอมสละวัตถุนั้น สงฆ์สวดสมนุภาส
ภิกษุณีผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น การสวดสมนุภาสภิกษุณีผู้มี
ชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็น
ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด.
ดิฉันกล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง. . .
ดิฉันกล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม. . .
ภิกษุณีมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละวัตถุ
นั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

[22] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติปาราชิก.
[23] บทว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียง
ภิกษุณีรูปก่อน.

ทรงอุปมาด้วยศิลาแตก


คำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ศิลาหนาแตกสองเสี่ยงแล้วเป็น
ของกลับต่อกันสนิทไม่ได้ฉันใด ภิกษุณีก็ฉันนั้นแล อันสงฆ์สวดสมนุภาสอยู่
ถึงครั้งที่สาม ยังไม่สละ ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่ใช่ธิดาของพระศากยบุตร
เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่พึง
ทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นั่นชื่อว่า
สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า หาสังวาส
มิได้.