เมนู

บทว่า ไม่เย็บ คือ ไม่เย็บด้วยตนเอง.
บทว่า ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้เย็บ คือ ไม่บังคับผู้อื่น.
คำว่า พ้น 4-5 วันไป คือเก็บไว้ได้ 4-5 วัน พอทอดธุระว่าจัก
ไม่เย็บ จักไม่ทำความขวนขวายเพื่อให้เย็บ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


ติกะปาจิตตีย์


[229] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี
ซึ่งจีวร แล้วเธอไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น
4- 5 วันไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวร แล้วเธอไม่
มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น 4-5 วันไป ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวร
แล้วเธอไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น 4-5 วัน
ไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ปัญจกะทุกกฏ


เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งบริขารอย่างอื่น แล้วเธอไม่มีอันตรายใน
ภายหลังไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น 4-5 วันไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวรก็ดี บริขารอย่างอื่นก็ดี ของอนุปสัมบัน
แล้วเธอไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น 4-5 วัน
ไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร
[230] ในเมื่อเหตุจำเป็นมี 1 แสวงหาแล้วไม่ได้ 1 ทำอยู่เกิน 4-5
วัน 1 อาพาธ 1 มีอันตราย 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
นัคควรรค สิกขาบทที่ 3 จบ

อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ 3


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 3 พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อนนฺตรายิกินี ได้แก่ ผู้ไม่มีอันตราย ด้วยอันตรายแม้
อย่างหนึ่ง ในอันตราย 10 อย่าง.
สองบทว่า ธุรํ นิกฺขิตฺตมตฺเต มีความว่า ภิกษุณีทอดธุระเสียแล้ว
ถ้าแม้นภายหลังจึงเย็บ เป็นอาบัติเหมือนกัน. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้มีการทอดธุระเป็นสมุฏฐาน เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนาแล.
อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ 3 จบ