เมนู

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้ว จึงได้ไม่เย็บให้ ไม่ขวนขวาย
ให้ผู้อื่นเย็บให้เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


78. 3. อนึ่ง ภิกษุณีใด เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวรของ
ภิกษุณีแล้ว เธอไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ทำการขวน-
ขวายเพื่อให้เย็บ พ้น 4-5 วันไป เป็นปาจิตตีย์.


สิกขาบทวิภังค์


[228] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ของภิกษุณี ได้แก่ ภิกษุณีรูปอื่น.
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร 6 ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง.
บทว่า เลาะ คือ เลาะด้วยตนเอง.
บทว่า ให้เลาะ คือ ให้ผู้อื่นเลาะ.
คำว่า เธอไม่มีอันตรายในภายหลัง คือ ในเมื่ออันตรายไม่มี.

บทว่า ไม่เย็บ คือ ไม่เย็บด้วยตนเอง.
บทว่า ไม่ทำการขวนขวายเพื่อให้เย็บ คือ ไม่บังคับผู้อื่น.
คำว่า พ้น 4-5 วันไป คือเก็บไว้ได้ 4-5 วัน พอทอดธุระว่าจัก
ไม่เย็บ จักไม่ทำความขวนขวายเพื่อให้เย็บ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


ติกะปาจิตตีย์


[229] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี
ซึ่งจีวร แล้วเธอไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น
4- 5 วันไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวร แล้วเธอไม่
มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น 4-5 วันไป ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวร
แล้วเธอไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น 4-5 วัน
ไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ปัญจกะทุกกฏ


เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งบริขารอย่างอื่น แล้วเธอไม่มีอันตรายใน
ภายหลังไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น 4-5 วันไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวรก็ดี บริขารอย่างอื่นก็ดี ของอนุปสัมบัน
แล้วเธอไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้เย็บ พ้น 4-5 วัน
ไป ต้องอาบัติทุกกฏ.