เมนู

นัคควรรค สิกขาบทที่ 3


เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา


[227] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
รูปหนึ่งเอาผ้าสำหรับทำจีวร ซึ่งมีราคามากมาทำจีวร เย็บจีวรให้เสียไป ภิกษุณี
ถุลลนันทาได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณีรูปนั้นว่า แม่เจ้า ผ้าสำหรับทำจีวรของท่าน
ผืนนี้เนื้อดี แต่ทำจีวรไม่ดี เย็บไม่สวย.
ภิกษุณีรูปนั้นถามว่า แม่เจ้า ดิฉันจักเลาะออก ท่านจักเย็บให้หรือ.
ภิกษุณีถุลลนันทาตอบว่า จ้ะ ดิฉันจักเย็บให้.
ครั้นแล้วภิกษุณีรูปนั้นได้เลาะจีวรนั้นให้แก่ภิกษุณีถุลลนันทา ๆ กล่าว
ว่าดิฉันจักเย็บให้ ดิฉันจักเย็บให้ แล้วไม่เย็บ ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นเย็บ
ดังนั้นภิกษุณีรูปนั้นจึงแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันนาให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้ว จึงไม่เย็บให้ ไม่
ขวนขวายให้ผู้อื่นเย็บให้เล่า. . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้วไม่เย็บให้ ไม่ขวนขวายให้
ผู้อื่นเย็บให้ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้ว จึงได้ไม่เย็บให้ ไม่ขวนขวาย
ให้ผู้อื่นเย็บให้เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


78. 3. อนึ่ง ภิกษุณีใด เลาะก็ดี ให้เลาะก็ดี ซึ่งจีวรของ
ภิกษุณีแล้ว เธอไม่มีอันตรายในภายหลัง ไม่เย็บ ไม่ทำการขวน-
ขวายเพื่อให้เย็บ พ้น 4-5 วันไป เป็นปาจิตตีย์.


สิกขาบทวิภังค์


[228] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ของภิกษุณี ได้แก่ ภิกษุณีรูปอื่น.
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร 6 ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง.
บทว่า เลาะ คือ เลาะด้วยตนเอง.
บทว่า ให้เลาะ คือ ให้ผู้อื่นเลาะ.
คำว่า เธอไม่มีอันตรายในภายหลัง คือ ในเมื่ออันตรายไม่มี.