เมนู

< h1>อันธการวรรค สิกขาบทที่ 6

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา


[201] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาเข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง บนอาสนะ
ไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้าน คนในบ้านกระดากภิกษุณีถุลลนันทา ไม่กล้านั่ง ไม่
กล้านอน บนอาสนะ เขาจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน แม่เจ้า
ถุลลนันทา จึงได้เข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง บน
อาสนะ ไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้านเล่า.
ภิกษุณี ทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้น พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้เข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอน
บ้าง บนอาสนะ ไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้านเล่า. . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาเข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง
บนอาสนะไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้าน จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้เข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร แล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง
บนอาสนะ ไม่บอกกล่าวเจ้าของบ้านเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


31. 6 อนึ่ง ภิกษุณีใด เข้าไปสู่สกุลในเวลาหลังอาหาร
ไม่บอกกล่าวพวกเจ้าของบ้าน นั่งก็ดี นอนก็ดี บนอาสนะ เป็น
ปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[202] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า เวลาหลังอาหาร ได้แก่ เวลาเที่ยงล่วงไปแล้ว ตราบเท่า
พระอาทิตย์อัสดงคต.
ที่ชื่อว่า สกุล ได้แก่ สกุล 4 คือ สกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์
สกุลแพศย์ สกุลศูทร.