เมนู

บทว่า เข้าไป คือ ไปในสกุลนั้น.
ที่ชื่อว่า อาสนะ ได้แก่ เอกเทสที่เขาเรียกกันว่าที่สำหรับนั่งพับ
แพนงเชิง.
บทว่า นั่ง คือ นั่งบนอาสนะนั้น.
คำว่า ไม่บอกลาเจ้าของบ้าน หลีกไป ความว่า ไม่อำลาคนใน
สกุลนั้นซึ่งเป็นเจ้าของถวาย.
เดินพ้นชายคา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในที่แจ้ง เดินล่วงอุปจาร ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


ติกะปาจิตตีย์


[199] ยังมิได้บอกลา ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้บอกลา หลีกไป
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังมิได้บอกลา ภิกษุณีสงสัย หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังมิได้บอกลา ภิกษุณีสำคัญว่า บอกลาแล้ว หลีกไป ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.

ติกะทุกกฏ


ไม่ใช่สถานที่สำหรับนั่งพับแพนงเชิง ต้องอาบัติทุกกฏ.
บอกลาแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้บอกลา ต้องอาบัติทุกกฏ.
บอกลาแล้ว ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ


บอกลาแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกลาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[200] บอกลาแล้วไป 1 อาสนะเคลื่อนที่ไม่ได้ 1 อาพาธ 1 มี
อันตราย 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ 5 จบ

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ 5


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 5 พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า ฆรํ โสเธนฺตา มีความว่า ได้ยินว่า ชนเหล่านั้นได้มี
ความปริวิตกนี้ว่า การล่วงละเมิดทางกายทางวาจาบางอย่างของพระเถรีไม่
ปรากฏ. พวกเราจงช่วยกันชำระเรือนดูบ้างก่อนเถิด เพราะฉะนั้น พวกเจ้า
ของบ้าน เมื่อชำระเรือนจึงได้พบอาสนะ.
สองบทว่า อโนวสฺสิกํ อติกฺกมนฺติยา มีความว่า ภิกษุณีเมื่อให้
เท้าแรกก้าวเลยไป เป็นทุกกฏ. เมื่อให้เท้าที่ 2 ก้าวเลยไปเป็นปาจิตตีย์. แม้
ในการก้าวล่วงอุปจาร ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า คิลานาย คือ ไม่อาจจะบอกลา เพราะอาพาธเช่นนั้น.
บทว่า อาปาทาสุ มีความว่า ที่เรือนเกิดไฟไหม้ขึ้น หรือถูกพวก
โจรปล้น ในอันตรายเห็นปานนี้ ไม่บอกลาหลีกไปเสีย ไม่เป็นอาบัติ. คำที่
เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา 1
ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ฉะนี้แล.
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ 5 จบ