เมนู

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีเข้าสู่สกุลในเวลาก่อนอาหาร นั่งบนอาสนะแล้ว จึงได้ไม่บอกลาเจ้าของ
บ้านก่อนกลับเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


70. 5. อนึ่ง ภิกษุณีใด เข้าไปสู่สกุลทั้งหลาย ในเวลา
ก่อนอาหาร นั่งบนอาสนะแล้ว ไม่บอกลาเจ้าของบ้าน หลีกไป
เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์


[198] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
ที่ชื่อว่า เวลาก่อนอาหาร คือเวลาอรุณขึ้นทราบเท่าเที่ยงวัน.
ที่ชื่อว่า สกุล ได้แก่สกุล 4 คือ สกุลกษัตริย์ สกุลพราหมณ์ สกุล
แพศย์ สกุลศูทร.

บทว่า เข้าไป คือ ไปในสกุลนั้น.
ที่ชื่อว่า อาสนะ ได้แก่ เอกเทสที่เขาเรียกกันว่าที่สำหรับนั่งพับ
แพนงเชิง.
บทว่า นั่ง คือ นั่งบนอาสนะนั้น.
คำว่า ไม่บอกลาเจ้าของบ้าน หลีกไป ความว่า ไม่อำลาคนใน
สกุลนั้นซึ่งเป็นเจ้าของถวาย.
เดินพ้นชายคา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในที่แจ้ง เดินล่วงอุปจาร ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.

บทภาชนีย์


ติกะปาจิตตีย์


[199] ยังมิได้บอกลา ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้บอกลา หลีกไป
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังมิได้บอกลา ภิกษุณีสงสัย หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังมิได้บอกลา ภิกษุณีสำคัญว่า บอกลาแล้ว หลีกไป ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.

ติกะทุกกฏ


ไม่ใช่สถานที่สำหรับนั่งพับแพนงเชิง ต้องอาบัติทุกกฏ.
บอกลาแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ยังมิได้บอกลา ต้องอาบัติทุกกฏ.
บอกลาแล้ว ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ


บอกลาแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกลาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.