เมนู

พระบัญญัติ


7. 3. อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์พร้อม
เพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ ผู้ไม่
เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย
ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า ภิกษุ
นั่นแล อันสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย
ตามสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มี
สังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่เจ้าอย่าประพฤติตามภิกษุนั่นเลย
แลภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่
อย่างนั้นเทียว ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะ
ครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากนางถูกสวดสมนุภาส
กว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย การสละได้อย่างนี้ นั่น
เป็นการดี หากนางไม่สละเสีย แม้ภิกษุณีนั้นก็เป็นปาราชิก ชื่อ
อุกขิตตานุวัตติกา หาสังวาสมิได้.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[19] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมา
เดียวกัน.

ที่ชื่อว่า ถูกยกเสียแล้ว คือ ถูกยกเสียในเพราะไม่เห็นอาบัติ ใน
เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือในเพราะไม่สละทิฏฐิบาป.
สองบทว่า ตามธรรม ตามวินัย คือ โดยธรรมอันใด โดยวินัย
อันใด.
บทว่า ตามสัตถุศาสน์ คือ ตามคำสั่งสอนของพระผู้ชำนะกิเลส
ได้แก่ พระพุทธศาสนา.
ที่ชื่อว่า ไม่เอื้อเฟื้อ คือ ไม่เชื่อสงฆ์ บุคคล หรือกรรม.
ที่ชื่อว่า ไม่ทำคืนอาบัติ คือ ถูกสงฆ์ยกเสียแล้ว สงฆ์ยังไม่เรียก
เข้าหมู่.
ที่ชื่อว่า มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย คือ ภิกษุ
ทั้งหลายผู้มีสังวาสเสมอกัน ตรัสเรียกว่าภิกษุผู้สหาย ภิกษุนั้นไม่ร่วมกับภิกษุผู้
สหายเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็น
สหาย.
บทว่า พึงประพฤติตามภิกษุนั้น ความว่า ภิกษุณีนั้นมีความเห็น
อย่างใด มีความพอใจอย่างใด มีความชอบใจอย่างใด แม้ภิกษุณีนั้นก็มีความ
เห็นอย่างนั้น มีความพอใจอย่างนั้น มีความชอบใจอย่างนั้น.
[20] บทว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุ ผู้
ถูกสงฆ์ยกเสียแล้วนั้น
บทว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุณีเหล่าอื่น คือ ภิกษุณี
ที่ได้เห็นได้ยินทั้งหลาย พึงว่ากล่าวดังนี้ว่า แม่เจ้า ภิกษุนั้นแล อันสงฆ์ผู้
พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่
เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่เจ้า

อย่าประพฤติตามภิกษุนั่น พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ 2 พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม
หากนางสละได้ การสละได้ดั่งนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีทั้งหลายทราบเรื่องแล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นอัน
ภิกษุณีทั้งหลายพึงคุมตัวไปสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วว่ากล่าวว่า แม่เจ้า ภิกษุนั่น
แลอันสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์
เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย
แม่เจ้าอย่าประพฤติตามภิกษุนั่นเลย พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่ 2 พึงว่ากล่าวแม้
ครั้งที่ 3 หากเธอสละได้ การสละได้ดั่งนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
[21] ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสอย่างนี้.
ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตตุถ-
กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมนุภาส


แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ประพฤติ
ตามภิกษุผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย
ตามสัตถุศาสน์ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาส
เสมอกันให้เป็นสหาย นางยังไม่ยอมสละวัตถุนั้น ถ้าความพร้อม
พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาสภิกษุณีผู้มีชื่อนี้ เพื่อ
ให้สละวัตถุนั้น นี้เป็นญัตติ.
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ประพฤติ
ตามภิกษุผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย