เมนู

บทว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือ บุรุษผู้หนึ่ง และภิกษุณีอีกรูปหนึ่ง.
บทว่า ยินร่วมก็ดี คือ ยืนร่วมในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า เจรจาร่วมก็ดี คือ เจรจาอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า กระซิบใกล้หูก็ดี คือ บอกเนื้อความใกล้หูของบุรุษ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
พากย์ว่า ภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปก็ดี คือ ประสงค์จะประพฤติ
อนาจาร จึงส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไป ต้องอาบัติทุกกฏ, เมื่อภิกษุณีผู้เป็น
เพื่อนละไปใกล้จะพ้นสายตา หรือสุดเสียงสั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อภิกษุณี
ผู้เป็นเพื่อนพ้นไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยืนร่วม หรือเจรจาร่วม พ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ยืนร่วม หรือเจรจาร่วม กับยักษ์ผู้ชาย เปรตผู้ชาย บัณเฑาะก์
หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฎ.

อนาปัตติวาร


[196] มีสตรีผู้รู้ความคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน 1 ไม่เพ่งที่ลับ ยืน
ร่วมหรือเจรจาร่วม 1 ส่งใจไปอื่น ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม 1 ไม่ประสงค์จะ
ประพฤติอนาจาร มีกิจจำเป็นจึงส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับ 1 วิกลจริต 1
อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ 4 จบ

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ 4


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 4 พึงทราบดังนี้:-
ที่ใกล้หู ท่านเรียกว่า นิกกัณณิกะ. มีคำอธิบายว่า กระซิบที่ใกล้หู
สองบทว่า สติ กรณีเย มีความว่า มีกิจจำเป็นเพื่อต้องการจะนำ
สลากภัตเป็นต้นมา หรือเพื่อต้องการจะเก็บงำของที่วางไว้ไม่ดีในวัด. คำที่เหลือ
ตื้นทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้น เป็นเช่นเดียวกันกับสิกขาบทก่อนทั้งนั้นแล.
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ 4 จบ