เมนู

หนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนบ้าง ในตรอกตันบ้าง ในทางสามแพร่งบ้าง ส่งภิกษุณี
ผู้เป็นเพื่อนกลับไปบ้างเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


69. 4. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยินร่วมก็ดี เจรจาร่วมก็ดี กระซิบ
ใกล้หูก็ดี กับบุรุษ หนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนก็ดี ในตรอกตันก็ดี ใน
ทางสามแพร่งก็ดี ส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[195] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ถนน ได้แก่ ทางเดิน.
ที่ชื่อว่า ตรอกตัน ได้แก่ ทางที่เข้าทางใดออกทางนั้น.
ที่ชื่อว่า ทางสามแพร่ง ได้แก่ชุมทางที่เที่ยวเตร่.
ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย มิใช่ยักษ์ผู้ชาย มิใช่เปรตผู้ชาย
มิใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นบุคคลผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถจะยืนร่วม เจรจา
ร่วมได้.
บทว่า กับ คือด้วยกัน.

บทว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือ บุรุษผู้หนึ่ง และภิกษุณีอีกรูปหนึ่ง.
บทว่า ยินร่วมก็ดี คือ ยืนร่วมในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า เจรจาร่วมก็ดี คือ เจรจาอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า กระซิบใกล้หูก็ดี คือ บอกเนื้อความใกล้หูของบุรุษ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
พากย์ว่า ภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปก็ดี คือ ประสงค์จะประพฤติ
อนาจาร จึงส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไป ต้องอาบัติทุกกฏ, เมื่อภิกษุณีผู้เป็น
เพื่อนละไปใกล้จะพ้นสายตา หรือสุดเสียงสั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อภิกษุณี
ผู้เป็นเพื่อนพ้นไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยืนร่วม หรือเจรจาร่วม พ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ยืนร่วม หรือเจรจาร่วม กับยักษ์ผู้ชาย เปรตผู้ชาย บัณเฑาะก์
หรือสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฎ.

อนาปัตติวาร


[196] มีสตรีผู้รู้ความคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน 1 ไม่เพ่งที่ลับ ยืน
ร่วมหรือเจรจาร่วม 1 ส่งใจไปอื่น ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม 1 ไม่ประสงค์จะ
ประพฤติอนาจาร มีกิจจำเป็นจึงส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับ 1 วิกลจริต 1
อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ 4 จบ