เมนู

อันธการวรรค สิกขาบทที่ 4


เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา


[194] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชต-
วัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทา ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กระซิบใกล้หูบ้าง กับบุรุษ หนึ่งต่อ
หนึ่ง ในถนนบ้าง ในตรอกตันบ้าง ในทางสามแพร่งบ้าง ส่งภิกษุณีเป็นเพื่อน
กลับไปบ้าง.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
ทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กระซิบใกล้หู
บ้าง กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนบ้าง ในตรอกตันบ้าง ในทางสามแพร่ง
บ้าง ส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปบ้างเล่า.

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทายืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กระซิบใกล้หูบ้าง กับบุรุษ
หนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนบ้าง ในตรอกตันบ้าง ในทางสามแพร่งบ้าง ส่งภิกษุณี
ผู้เป็นเพื่อนกลับไปบ้าง จริงหรือ.
ภิกษุณีทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กระซิบใกล้หูบ้าง กับบุรุษ

หนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนบ้าง ในตรอกตันบ้าง ในทางสามแพร่งบ้าง ส่งภิกษุณี
ผู้เป็นเพื่อนกลับไปบ้างเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


69. 4. อนึ่ง ภิกษุณีใด ยินร่วมก็ดี เจรจาร่วมก็ดี กระซิบ
ใกล้หูก็ดี กับบุรุษ หนึ่งต่อหนึ่ง ในถนนก็ดี ในตรอกตันก็ดี ใน
ทางสามแพร่งก็ดี ส่งภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนกลับไปก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[195] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ถนน ได้แก่ ทางเดิน.
ที่ชื่อว่า ตรอกตัน ได้แก่ ทางที่เข้าทางใดออกทางนั้น.
ที่ชื่อว่า ทางสามแพร่ง ได้แก่ชุมทางที่เที่ยวเตร่.
ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย มิใช่ยักษ์ผู้ชาย มิใช่เปรตผู้ชาย
มิใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นบุคคลผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถจะยืนร่วม เจรจา
ร่วมได้.
บทว่า กับ คือด้วยกัน.