เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


68. 3. อนึ่ง ภิกษุณีใด กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ยินร่วมก็ดี
เจรจาร่วมก็ดี ในสถานที่แจ้ง เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี จบ

สิกขาบทวิภังค์


[192า บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
ที่ชื่อว่า สถานที่แจ้ง ได้แก่ สถานที่อันมิได้กำบังด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
คือ ฝา บานประตู ลำแพน ม่าน ต้นไม้ เสา หรือฉางข้าว.
ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย มิใช่ยักษ์ผู้ชาย มิใช่เปรตผู้ชาย
มิใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นบุคคลผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถจะยืนร่วม เจรจา
ร่วมได้.
บทว่า กับ คือ ด้วยกัน.
บทว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือ บุรุษผู้หนึ่ง และภิกษุณีรูปหนึ่ง.
บทว่า ยินร่วมก็ดี คือ ยืนอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
บทว่า เจรจาร่วมก็ดี คือ เจรจาอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.

ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม พ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม กับยักษ์ผู้ชาย เปรตผู้ชาย บัณเฑาะก์ หรือ
สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[193] มีสตรีผู้รู้ความคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน 1 ไม่เพ่งที่ลับ ยืน
ร่วมหรือเจรจาร่วม 1 ส่งใจไปอื่น ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม 1 วิกลจริต 1
อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ 3 จบ

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ 3


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 3 พึงทราบดังนี้ :-
คำว่า อชฺโฌกาเส (ในสถานที่แจ้ง) ต่างกัน. คำที่เหลือทั้งหมด
เป็นเช่นนั้นนั่นแล.
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ 3 จบ