เมนู

ปาราชิกสิกขาบทที่ 3


เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา


[18] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาพระพฤติตามพระอริฎฐะผู้เผ่าพรานแร้งที่ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันยก
เสียแล้ว บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า
ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้พระพฤติตามพระอริฏฐะผู้เผ่าพรานแร้ง ซึ่งถูกสงฆ์
ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้วเล่า... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันนทาประพฤติตามอริฏฐภิกษุผู้เผ่าพรานแร้ง ซึ่งถูก
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ประพฤติตามอริฏฐภิกษุผู้เผ่าพรานแร้ง ซึ่งถูกสงฆ์
ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้วเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่า ดังนี้ :-

พระบัญญัติ


7. 3. อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์พร้อม
เพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสน์ ผู้ไม่
เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย
ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้า ภิกษุ
นั่นแล อันสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียแล้ว ตามธรรม ตามวินัย
ตามสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืนอาบัติ มิได้ทำภิกษุผู้มี
สังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่เจ้าอย่าประพฤติตามภิกษุนั่นเลย
แลภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่
อย่างนั้นเทียว ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะ
ครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย หากนางถูกสวดสมนุภาส
กว่าจะครบสามจบอยู่ สละกรรมนั้นเสีย การสละได้อย่างนี้ นั่น
เป็นการดี หากนางไม่สละเสีย แม้ภิกษุณีนั้นก็เป็นปาราชิก ชื่อ
อุกขิตตานุวัตติกา หาสังวาสมิได้.

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[19] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . .นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมา
เดียวกัน.