เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


66. 1. อนึ่ง ภิกษุณีใด กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ยืนร่วมก็ดี
เจรจาร่วมก็ดี ในเวลาค่ำคืนไม่มีประทีป เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี จบ

สิกขาบทวิภงค์


[186] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ในเวลาค่ำมืด ได้แก่ เวลาพระอาทิตย์ตกดินแล้ว.
บทว่า ไม่มีประทีป คือ ไม่มีแสงสว่าง.
ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย มิใช่ยักษ์ผู้ชาย มิใช่เปรตผู้ชาย มิใช่
สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นบุคคลผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถจะยืนร่วม เจรจาร่วมได้.
บทว่า กับ คือ ด้วยกัน.
บทว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือบุรุษหนึ่ง และภิกษุณีรูปหนึ่ง.
บทว่า ยืนร่วมก็ดี คือ ยืนอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า เจรจาร่วมก็ดี คือ เจรจาอยู่ในระยะช่วงแขนของบุรุษ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยืนร่วม หรือเจรจาร่วม พ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม กับยักษ์ผู้ชาย เปรตผู้ชาย บัณเฑาะก์หรือ
สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มีร่างกายคล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[187] มีสตรีผู้รู้ความคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน 1 ไม่เพ่งที่ลับ
ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม 1 ส่งใจไปอื่น ยืนร่วมหรือเจรจาร่วม 1 วิกลจริต 1
อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
อันธการวรรค สิกขาบทที่ 1 จบ

อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ 1


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 1 แห่งอันธการวรรค พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อปฺปทีเป คือในที่ไม่มีแสงสว่าง ด้วยบรรดาแสงสว่างมี
ประทีป ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และไฟเป็นต้น แม้อย่างหนึ่ง. ด้วยเหตุนั้น
นั่นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า อปฺปทีเป นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
ว่า อนาโลเก.
บทว่า สลฺลปยฺย วา ได้แก่ กล่าวถ้อยคำเกี่ยวด้วยการครองเรือน
สองบทว่า อรโหเปกฺขา อญฺญาวิหิตา มีความว่า ไม่เพ่งความ
ยินดีในที่ลับ เป็นผู้ส่งใจไปอื่น จากความยินดีในที่ลับ ไต่ถามถึงญาติ หรือ
เชื้อเชิญเขาในการถวายทานก็ดี ในการบูชาก็ดี. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจไถยสัตถสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับจิต 1
ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ
กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต มีเวทนา 2 แล.
อรรถกถาอันธการวรรค สิกขาบทที่ 1 จบ