เมนู

อนาปัตติวาร


[184] ยืนอยู่ในอารามแลเห็นหรือได้ยิน 1 เขาฟ้อนรำขับร้อง
หรือประโคมผ่านมายังสถานที่ภิกษุณียืนอยู่ นั่งอยู่ หรือนอนอยู่ 1 เดินสวน
ทางไปแลเห็นหรือได้ยิน 1 เมื่อมีกิจจำเป็นเดินผ่านไปแลเห็นหรือได้ยิน 1
มีอันตราย 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 10 จบ
ลสุณวรรที่ 1 จบ

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ 10


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 10 พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ นจฺจํ มีความว่า พวกนักฟ้อนเป็นต้นหรือ
พวกนักเลง จงฟ้อนรำก็ตามที โดยที่สุดแม้นกยูง นกแขกเต้าและลิงเป็นต้น
ฟ้อนรำ ทั้งหมดนั่น จักเป็นการฟ้อนรำทั้งนั้น.
สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ คีตํ มีความว่า การขับร้องของพวกนักฟ้อน
เป็นต้น หรือการขับร้องกีฬาให้สำเร็จประโยชน์ ซึ่งประกอบด้วยการสรรเสริญ
คุณพระรัตนตรัย ในเวลาที่พระอริยเจ้าทั้งหลายปรินิพพาน หรือการขับร้อง
ทำนองสวดธรรมสรภัญญะของพวกภิกษุ ผู้ไม่สำรวมก็ตามที ทั้งหมดนี้จัดเป็น
การขับร้องทั้งนั้น.
สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ วาทิตํ มีความว่า เครื่องบรรเลงมีที่ขึ้นสาย
เป็นต้น หรือการประโคมกลองเทียมก็ตามที ชั้นที่สุดแม้การตีอุทกเภรี
(กลองน้ำ) ทั้งหมดนี้จัดเป็นการประโคมดนตรีทั้งนั้น.

ข้อว่า ทสฺสนาย คจฺฉติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ได้แก่ ต้อง
อาบัติทุกกฏ โดยนับวาระย่างเท้า.
คำว่า ยตฺถ ฐิตา ปสฺสติ วา สุณาติ วา มีความว่า ภิกษุณี
เมื่อแลดูโดยประโยคเดียวเห็น ได้ฟังการขับร้อง การประโคมดนตรีของชน
เหล่านั้นนั่นแหละ เป็นปาจิตตีย์เพียงตัวเดียว แต่ถ้าเหลียวดูทิศหนึ่งแล้วเห็น
นักฟ้อน เหลียวไปดูทางอื่นอีก เห็นพวกคนขับร้อง มองไปทางอื่น เห็นพวก
คนบรรเลง เป็นอาบัติและอย่าง ๆ หลายตัว. ภิกษุณีย่อมไม่ได้เพื่อจะฟ้อนรำ
หรือขับร้อง หรือประโคมดนตรีแม้เอง. แม้จะบอกคนเหล่าอื่นว่า จงฟ้อนรำ
จงขับร้อง จงบรรเลง ก็ไม่ได้. จะกล่าวว่า อุบาสก ! พวกท่านจงให้การ
บูชาพระเจดีย์ก็ดี จะรับคำว่า ดีละ ในเมื่อเขากล่าวว่า พวกข้าพเจ้าจะทำ
การบำรุงพระเจดีย์ของพวกท่านก็ดี ย่อมไม่ได้. ท่านกล่าวไว้ในทุก ๆ
อรรถกถาว่า เป็นปาจิตตีย์ในฐานะทั้งปวง. เป็นทุกกฏแก่ภิกษุ. แต่เมื่อเขา
กล่าวว่า พวกข้าพเจ้าจะทำการบำรุงพระเจดีย์ของพวกท่าน ภิกษุณีจะกล่าวว่า
อุบาสก ! ชื่อว่า การทำนุบำรุง เป็นการดี ควรอยู่.
สองบทว่า อาราเม ฐิตา มีความว่า ภิกษุณียืนอยู่ในอารามแลเห็น
หรือได้ยินการฟ้อนรำเป็นต้น ภายในอารามก็ดี ภายนอกอารามก็ดี ไม่เป็น
อาบัติ.
สองบทว่า สติ กรณีเย มีความว่า ภิกษุณีไปเพื่อประโยชน์แก่
สลากภัตเป็นต้น หรือด้วยกรณียะอื่นบางอย่าง เห็นอยู่ หรือได้ยินอยู่ในสถาน
ที่ตนไป ไม่เป็นอาบัติ.

บทวา อาปาทาสุ มีความว่า ภิกษุณีถูกอุปัทวะเช่นนั้นเบียดเบียน
เข้าไปสู่สถานที่ดูมหรสพ เข้าไปแล้วอย่างนี้ เห็นอยู่ก็ดี ได้ยินอยู่ก็ดี ไม่เป็น
อาบัติ. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา 3 ฉะนี้แล.
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ 10 จบ
ลสุณวรรค ที่ 1 จบ

อันธการวรรคที่ 2


สิกขาบทที่ 1


เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททากาปิลานีเถรี


[185] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ญาติผู้ชาย
ของภิกษุณีอันเตวาสินีแห่งภัททากาปิลานีเถรี ได้จากบ้านไปสู่พระนครสาวัตถี
ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ฝ่ายภิกษุณีนั้นกับญาติผู้ชายนั้นหนึ่งต่อหนึ่ง ยืนร่วม
บ้าง เจรจาร่วมบ้าง ในเวลาค่ำมืดไม่มีแสงสว่าง.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง กับบุรุษในเวลาค่ำมืดที่ไม่มี
แสงสว่างหนึ่งต่อหนึ่งเล่า. . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีกับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง ในเวลาค่ำมืด
ที่ไม่มีแสงสว่าง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีกับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง จึงได้ยืนร่วมบ้าง เจรจาร่วมบ้าง ในเวลาค่ำมืด
ที่ไม่มีแสงสว่างเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .