เมนู

บ้างเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่
ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ


65. 10. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไปดูการฟ้อนรำก็ดี การขับร้อง
ก็ดี การประโคมดนตรีก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์


[183] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
ผู้ขอ . . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า การฟ้อนรำ ได้แก่ การฟ้อนรำอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า การขับร้อง ได้แก่ เพลงขับร้องอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ที่ชื่อว่า การประโคมดนตรี ได้แก่ เครื่องดีดสีตีเป่าอย่างใดอย่าง
หนึ่ง.
ภิกษุณีเดินไปเพื่อจะดู ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนอยู่ ณ ที่ใด ยังแลเห็น
หรือได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พ้นสายตาไปแล้ว กลับแลดูหรือฟังอีก ก็ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์.
ภิกษุณีเดินไปเพื่อจะดูเครื่องมหรสพเฉพาะอย่าง ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ
ยืนอยู่ ณ ที่ใด ยังแลเห็นหรือได้ยิน ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พ้นสายตาไปแล้ว
กลับแลดูหรือฟังอีก ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร


[184] ยืนอยู่ในอารามแลเห็นหรือได้ยิน 1 เขาฟ้อนรำขับร้อง
หรือประโคมผ่านมายังสถานที่ภิกษุณียืนอยู่ นั่งอยู่ หรือนอนอยู่ 1 เดินสวน
ทางไปแลเห็นหรือได้ยิน 1 เมื่อมีกิจจำเป็นเดินผ่านไปแลเห็นหรือได้ยิน 1
มีอันตราย 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 10 จบ
ลสุณวรรที่ 1 จบ

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ 10


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 10 พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ นจฺจํ มีความว่า พวกนักฟ้อนเป็นต้นหรือ
พวกนักเลง จงฟ้อนรำก็ตามที โดยที่สุดแม้นกยูง นกแขกเต้าและลิงเป็นต้น
ฟ้อนรำ ทั้งหมดนั่น จักเป็นการฟ้อนรำทั้งนั้น.
สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ คีตํ มีความว่า การขับร้องของพวกนักฟ้อน
เป็นต้น หรือการขับร้องกีฬาให้สำเร็จประโยชน์ ซึ่งประกอบด้วยการสรรเสริญ
คุณพระรัตนตรัย ในเวลาที่พระอริยเจ้าทั้งหลายปรินิพพาน หรือการขับร้อง
ทำนองสวดธรรมสรภัญญะของพวกภิกษุ ผู้ไม่สำรวมก็ตามที ทั้งหมดนี้จัดเป็น
การขับร้องทั้งนั้น.
สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ วาทิตํ มีความว่า เครื่องบรรเลงมีที่ขึ้นสาย
เป็นต้น หรือการประโคมกลองเทียมก็ตามที ชั้นที่สุดแม้การตีอุทกเภรี
(กลองน้ำ) ทั้งหมดนี้จัดเป็นการประโคมดนตรีทั้งนั้น.