เมนู

ที่ชื่อว่า อุจจาระ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกกันว่าคูถ.
ที่ชื่อว่า ปัสสาวะ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกกันว่ามูตร.
ที่ชื่อว่า หยากเยื่อ ได้แก่ สิ่งที่เขาเรียกว่าขยะมูลฝอย.
ที่ชื่อว่า ของเป็นเดน ได้แก่ อามิสเป็นเดน หรือกระดูก หรือน้ำ
ที่เป็นเดน.
ที่ชื่อว่า ฝา ได้แก่ฝา 3 ชนิด คือ ฝาอิฐ ฝาศิลา ฝาไม้.
ที่ชื่อว่า กำแพง ได้แก่ กำแพง 3 ชนิด คือ กำแพงอิฐ กำแพง
ศิลา กำแพงไม้.
บทว่า ภายนอกฝา คือ ข้างนอกฝาที่อยู่.
บทว่า ภายนอกกำแพง คือ ข้างนอกกำแพง.
บทว่า เท ความว่า เทเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ให้เท ความว่า ใช้คนอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ใช้เขาครั้งเดียว
เขาเทแม้หลายครั้ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร


[177] มองดูก่อนแล้วจึงเท 1 เทในที่ที่เขาไม่ใช้ 1 วิกลจริต 1
อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ 8


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 8 พึงทราบดังนี้:-
ราชภัฏ (พระราชทรัพย์) คือ ภาษี ส่วยสาอากรของหลวง พราหมณ์
นี้ยักยอกเอาไป เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้น จึงชื่อว่านิพพิฏฐราชภัฏ (ผู้ถูก
ปลดออกจากราชการ). อธิบายว่า ผู้รับตำแหน่งอย่างหนึ่ง ทางด้านส่วยสาอากร
ได้ยักยอกเบียดบังเอาผลกำไรจากตำแหน่งนั้น.
ข้อว่า ตํเยว ภฏปถํ ยาจิสฺสามิ ได้แก่ พราหมณ์นั้นคิดคำนึง
อยู่ว่า เราถวายส่วยแก่นายหลวงแล้ว จักทูลขอพระราชทานรับตำแหน่งเดิมนั้น
แหละคืน.
บทว่า ปริภาสิ ได้แก่ อุบาสกนั้นขู่สำทับภิกษุณีเหล่านั้นว่า พวก
ท่านอย่าได้ทำอย่างนี้อีกต่อไปนะ.
บทว่า สยํ ฉฑฺเฑติ มีความว่า เมื่อเททิ้ง 4 วัตถุทิ้ง ด้วย
ประโยคเดียว เป็นอาบัติเพียงตัวเดียว. เมื่อทิ้งทีละอย่าง ๆ เป็นอาบัติมาก
ตามจำนวนวัตถุ. แม้ในการสั่ง ก็นัยนี้นั่นแล. ถึงในการทิ้งไม้ชำระฟัน ก็
เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุณีเหมือนกัน. เป็นทุกกฏแก่ภิกษุในที่ทั้งปวง. บทที่
เหลือ ตื้นทั้งนั้น .
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 6 เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3
ฉะนี้แล.
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ 8 จบ