เมนู

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 7


เรื่องภิกษุณีหลายรูป


[172] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เป็นฤดู
เกี่ยวข้าวภิกษุณีทั้งหลายขอข้าวเปลือกสด แล้วนำเข้าไปในพระนคร ครั้นถึง
ที่ประตูพระนครคนทั้งหลายพากันกั้นประตูพูดสัพยอกว่า ข้าแต่แม่เจ้าทั้งหลาย
ขอท่านจงให้ส่วนแบ่งบ้าง ดังนี้ แล้วปล่อยไป ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นกลับไป
ถึงสำนักแล้วได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอข้าวเปลือก
สดเขาเล่า. . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีขอข้าวเปลือกสดเขา จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอข้าวเปลือกสดเขาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


62. 7. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขอก็ดี ให้ขอก็ดี คั่วก็ดี ให้
คั่วก็ดี ตำก็ดี ให้ตำก็ดี หุงก็ดี ให้หุงก็ดี ซึ่งข้าวเปลือกสด แล้ว
ฉัน เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์


[173] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ข้าวเปลือกสด ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว
ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย หญ้ากับแก้.
บทว่า ขอ คือ ขอเอง. บทว่า ให้ขอ คือ ให้ผู้อื่นขอแทน.
บทว่า คั่ว คือ คั่วเอง. บทว่า ให้คั่ว คือ ให้ผู้อื่นคั่ว.
บทว่า ตำ คือ ตำเอง. บทว่า ให้ตำ คือ ให้ผู้อื่นตำ.
บทว่า หุง คือ หุงเอง. บทว่า ให้หุง คือ ให้ผู้อื่นหุง.
ภิกษุณีรับประเคนไว้ด้วยหมายใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน.

อนาปัตติวาร


[174] เพราะเหตุอาพาธ 1 ขออปรัณชาติ 1 วิกลจริต 1 อาทิ-
กัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 7 จบ