เมนู

อุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย เข้าไปปฏิบัติอยู่ใกล้ ๆ ด้วยน้ำฉัน หรือ
ด้วยการพัดวี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน เข้าไปปฏิบัติอยู่ใกล้ ๆ ด้วย
น้ำฉัน หรือด้วยการพัดวี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ฉักกะทุกกฏ


ปฏิบัติอยู่นอกหัตถบาส ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุฉันของเคี้ยว ภิกษุณีเข้าไปปฏิบัติ ต้องอาบัติทุกกฏ.
เข้าไปปฏิบัติอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกขุณีสำคัญว่าอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[171] ภิกษุณีถวายเอง 1 ให้คนอื่นถวาย 1 สั่งอนุปสัมบันให้
ปฏิบัติ 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 6 จบ

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ 6


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 6 พึงทราบดังนี้:-
บทว่า ภตฺตวิสฺสคฺคํ แปลว่า ภัตกิจ.
สามบทว่า ปานีเยน จ วิธูปเนน จ อุปติฏฺฐิตฺวา ความว่า
ยืนเอามือข้างหนึ่งถือขันน้ำ เอามือข้างหนึ่งถือพัด พัควีอยู่ใกล้ ๆ.

บทว่า อจฺจาวทติ มีความว่า กล่าวถ้อยคำเกี่ยวกับการครองเรือน
ละเมิดจารีตของบรรพชิตว่า แม้เมื่อก่อน ท่านก็บริโภคอยู่อย่างนี้ ดิฉันก็ทำ
การปรนนิบัติท่านอย่างนี้.
สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ ปานียํ มีความว่า น้ำสะอาด หรือน้ำเปรียง
นมส้ม น้ำผึ้ง น้ำรส และนมสดเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามที.
สองบทว่า ยากาจิ วีชนี คือ ชั้นที่สุดแม้ชายจีวร ก็ชื่อว่าพัด.
ในคำว่า หตฺถปาเส ติฏฺฐติ อาปตฺติ ปาจิตติยสฺส นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรับปาจิตตีย์ เพราะการยืนเป็นปัจจัยเท่านั้น. แต่
เพราะการประหารเป็นปัจจัย ทรงบัญญัติทุกกฏไว้ในขันธกะ.
สองบทว่า เทติ ทาเปติ มีความว่า ภิกษุณีถวายน้ำดื่ม หรือแกง
เป็นต้นว่า นิมนต์ท่านดื่มน้ำนี้ นิมนต์ท่านฉันกับแกงนี้เถิด. ถวายพัดใบตาล
ว่า นิมนต์ท่านพัดด้วยพัดใบตาลนี้ ฉันเถิด หรือว่าสั่งให้ผู้อื่นถวายน้ำดื่มและ
พัดให้แม้ทั้ง 2 อย่าง ไม่เป็นอาบัติ.
สองบทว่า อนุปสมฺปนฺนํ อาณาเปติ คือ สั่งสามเณรีเพื่อให้
ปฏิบัติไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ฉะนี้แล.
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ 6 จบ

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 7


เรื่องภิกษุณีหลายรูป


[172] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เป็นฤดู
เกี่ยวข้าวภิกษุณีทั้งหลายขอข้าวเปลือกสด แล้วนำเข้าไปในพระนคร ครั้นถึง
ที่ประตูพระนครคนทั้งหลายพากันกั้นประตูพูดสัพยอกว่า ข้าแต่แม่เจ้าทั้งหลาย
ขอท่านจงให้ส่วนแบ่งบ้าง ดังนี้ แล้วปล่อยไป ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นกลับไป
ถึงสำนักแล้วได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอข้าวเปลือก
สดเขาเล่า. . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าพวกภิกษุณีขอข้าวเปลือกสดเขา จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ขอข้าวเปลือกสดเขาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-