เมนู

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจึงได้ใช้ท่อนยางเกลี้ยง ๆ เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


59. 4. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะใช้ท่อนยางเกลี้ยง ๆ.
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์


[161] ที่ชื่อว่า ท่อนยางเกลี้ยง ๆ ได้แก่ วัตถุที่ทำขึ้นด้วยยาง
ทำขึ้นด้วยไม้ ทำขึ้นด้วยแป้ง ทำขึ้นด้วยดิน.
ภิกษุณียินดีสัมผัส สอดวัตถุโดยที่สุดแม้กลีบอุบลเข้าไปสู่องค์รหัส
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

อนาปัตติวาร


[162] มีเหตุอาพาธ 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติ
แล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 4 จบ

อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ 4


วินิจฉัยในสิกขาบทที่ 4 พึงทราบดังนี้;-
บทว่า ปุราณราโชโรโธ ได้แก่ เป็นพระสนมของพระเจ้าแผ่นดิน
ในกาลก่อน คือ ในคราวเป็นคฤหัสถ์.
สองบทว่า จิราจิรํ คจฺฉติ คือ นาน ๆ พระราชาจึงจะเสด็จมา.
บทว่า ธาเรถ คือ แม่เจ้าอาจ (ดำรงอยู่ได้อย่างไร ?). เมื่อพวก
ภิกษุณีถามว่า นี้กรรมของใคร ? ภิกษุณีนั้นเข้าใจว่า แม้เมื่อเราไม่บอก
ภิกษุณีเหล่านี้ก็จักทำความระแวงสงสัยในเรา จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า นี้เป็นการ
กระทำของดิฉัน.
บทว่า ชตุมฏฺฐเก ได้แก่ ท่อนเกลี้ยง ๆ ทำด้วยยาง. บทว่า
ชตุมฏฺฐเก นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งเรื่องเท่านั้น. แต่เมื่อ
สอดท่อนกลม ๆ อย่างใดอย่างหนึ่งเข้าไปเป็นอาบัติทั้งนั้น. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสว่า ชั้นที่สุด สอดแม้กลีบอุบลเข้าไปสู่องค์รหัส
และแม้กลีบอุบลนี้ ก็โตเกินไป แต่เมื่อสอดแม้เพียงเกสรเข้าไปก็อาบัติเหมือน
กัน. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นกับที่กล่าวแล้วใน
ตลฆาฏกสิกขาบทนั้นแล.
อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ 4 จบ