เมนู

น้องหญิง มีความประพฤติเช่นนี้ และมีความประพฤติเช่นนี้ แต่
ดิฉันไม่โจทด้วยตน
นั้น คือ ไม่โจทเอง.
คำว่า ไม่บอกแก่คณะ คือ ไม่บอกแก่ภิกษุณีอื่น ๆ.
[16] บทว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทียบเคียงภิกษุณี
รูปก่อน.

อุปมาด้วยใบไม้เหลือง


คำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ใบไม้เหลืองหลุดจากขั้วแล้วไม่ควร
เพื่อจะเป็นของเขียวสดขึ้นได้ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุณีก็ฉันนั้นแหละ รู้อยู่ว่า
ภิกษุณีล่วงปาราชิกธรรมแล้ว เมื่อเธอทอดธุระว่าจักไม่โจทด้วยตน จักไม่บอก
แก่คณะดังนี้เท่านั้น ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นธิดาของพระศากยบุตร เพราะ
เหตุนั้นจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่
พึงทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่า
สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุณีนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.

อนาปัตติวาร


[17] ภิกษุณีไม่บอกด้วยเกรงว่า ความบาดหมาง ความทะเลาะ
ความแก่งแย่ง ความวิวาท จักมีแก่สงฆ์ 1 ไม่บอกด้วยเข้าใจว่า สงฆ์จักแตก
กัน สงฆ์จักร้าวรานกัน 1 ไม่บอกด้วยแน่ใจว่า ภิกษุณีนี้เป็นคนร้ายกาจ
หยาบคาย จักทำอันตรายแก่ชีวิต หรือพรหมจรรย์ 1 ไม่พบภิกษุณีอื่น ๆ ที่
สมควรจะบอก จึงไม่บอก 1 ไม่ประสงค์จะปกปิด แต่ยังมิได้บอก 1 ไม่บอก
ด้วยสำคัญว่า จักปรากฏด้วยการกระทำของเขาเอง 1 ภิกษุณีวิกลจริต 1 ภิกษุณี
อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาราชิกสิกขาบทที่ 2 จบ

อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ 2


วินิจฉัยในปาราชิกสิกขาบทที่ 2 พึงทราบดังนี้ :-
แก้อรรถปาฐะบางตอนในทุติยปาราชิก
บทว่า กจฺจิโน สา ตัดบทเป็น กจฺจิ นุ สา แปลว่า ชะรอย
นาง (จะมีครรภ์ทั้งเป็นภิกษุณีกระมัง ?)
บทว่า อวณฺโณ แปลว่า มิใช่คุณ.
บทว่า อกิตฺติ แปลว่า การตำหนิ.
บทว่า อยโส ได้แก่ ความเสียบริวาร, อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ การ
ติเตียนลับหลัง.
คำว่า สา วา อาโรเจติ ได้แก่ นางภิกษุณีผู้ซึ่งต้องปาราชิกแล้ว
ไม่บอกด้วยตนเองก็ดี.
ข้อว่า อฏฺฐนฺนํ ปาราชิกานํ อญฺญตรํ ได้แก่ ปาราชิก 4 ที่
สาธารณะกับภิกษุทั้งหลาย และเฉพาะปาราชิก 4 ที่ไม่ทั่วไปอย่างใดอย่างหนึ่ง.
และปาราชิกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติในภายหลัง เพราะฉะนั้น จึง
ตรัสไว้ในวิภังค์ว่า อฏฺฐนฺนํ . แต่บัณฑิตพึงทราบว่า พระสังคีติกาจารย์
ทั้งหลายจัดตั้งปาราชิกนี้ไว้ในโอกาสนี้ ก็เพราะเป็นคู่กับสิกขาบทก่อน.
สองบทว่า ธุรํ นิกฺขิตฺตมตฺเต คือ พอเมื่อเธอทอดธุระเสีย ก็
กถาพิสดารในสิกขาบทนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังได้กล่าวแล้วในทุฏฐุลล-