เมนู

อรรถกถาขุททกกัณฑ์


ธรรมเหล่าใด รวบรวมได้ 66 ข้อ
ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายร้อย-
กรองไว้ ในลำดับแห่งติงสกกัณฑ์ บัดนี้จะ
พรรณนาธรรมแม้เหล่านั้นดังต่อไปนี้.


ปาจิตตีย์


ลสุณวรรคที่ 1 สิกขาบทที่ 1


ในบรรดา 9 วรรคนั้น พึงทราบวินิจฉัย ในสิขาบทที่ 1 แห่ง
ลสุณวรรคก่อน.

[ว่าด้วยเรื่องภิกษุณีฉันกระเทียม]
สามบทว่า เทฺว ตโย ภณฺฑกา ได้แก่ จุกกระเทียม 2-3 จุก
คำว่า โปฎฺฏลเก นี้ เป็นชื่อของกระเทียมมีเยื่อในสมบูรณ์.
สองบทว่า น มตฺตํ ชานิตฺวา มีความว่า (ภิกษุณีถุลลนันทานั้น)
ไม่รู้จักประมาณ เมื่อคนเฝ้าไร่ห้ามปรามอยู่ ใช้ให้ (พวกภิกษุณี) ขนเอา
กระเทียมมาเป็นอันมาก.
สองบทว่า อญฺญตรํ หํสโยนึ ได้แก่ กำเนิดหงส์ทอง.
สามบทว่า โส ตาสํ เอเกกํ มีความว่า หงส์นั้น เป็นสัตว์
ระลึกชาติได้. ดังนั้นจึงมาหาด้วยความรักในก่อน แล้วสลัดขนให้แก่สตรี
เหล่านั้นคนละขน.ขนนั้นเป็นทองคำแท้ ควรแก่การหลอมการทุบและตัดได้.

บทว่า มาคธิกํ แปลว่า เกิดแล้วในแคว้นมคธ. จริงอยู่ เฉพาะ
กระเทียมที่เกิดในแคว้นมคธ ท่านประสงค์เอาว่า ลสุณํ ในสิกขาบทนี้. แม้
กระเทียมนั้นเป็นกระเทียมที่มีเยื่อในสมบูรณ์ ไม่ใช่กระเทียมที่มีเยื่อในเพียงกลีบ
หรือ 2-3 กลีบ. แต่ในกุรุนทีท่านไม่กล่าวถึงประเทศที่เกิด กล่าวว่า กระเทียม
มีเยื่อในสมบูรณ์ ชื่อว่า กระเทียมมคธ.
ในคำว่า อชฺโฌหาเร อชฺโฌหาเร นี้ มีวินิจฉัยดังนี้; ถ้า
ภิกษุณีรวบรวมกระเทียม 2-3 จุกเข้าด้วยกันเคี้ยวกลืนกิน เป็นปาจิตตีย์
ตัวเดียว แต่เมื่อภิกษุณีบิออกกินทีละกลีบ เป็นปาจิตตีย์มากตัว ด้วยการนับ
ประโยคแล.
บัณฑิตพึงทราบความแตกต่างกันแห่งกระเทียมเหลืองเป็นต้น โดยสี
หรือโดยเยื่อใน. ว่าด้วยสีก่อน ชื่อว่า กระเทียมเหลือง ย่อมมีสีเหลือง
กระเทียมแดง มีสีแดง กระเทียมเขียวมีใบสีเขียว.
แต่ว่าโดยเยื่อใน (หรือกลีบ) กระเทียมเหลืองมีเยื่อในชั้นเดียว.
กระเทียมแดงมีเยื่อใน 2 ชั้น. กระเทียมเขียวมีเยื่อใน 3 ชั้น กระเทียมต้น
ไม่มีเยื่อใน. จริงอยู่ กระเทียมนั้น เป็นเพียงหน่อเท่านั้น. แต่ในมหาปัจจรี
เป็นต้นกล่าวไว้ว่า กระเทียมเหลืองมีเยื่อใน (มีกลีบ) 3 ชั้น กระเทียมแดง
มีเยื่อใน 2 ชั้น กระเทียมเขียวมีเยื่อในชั้นเดียว. กระเทียมเหลืองเป็นต้นนั่น
ย่อมควร โดยสภาพทีเดียว
แต่ในการต้มแกงเป็นต้น แม้กระเทียมมคธก็ควร. ความจริง จะใส่
กระเทียมมคธนั้นลง ในแกงถั่วเป็นต้นซึ่งกำลังแกงก็ดี ในกับข้าวชนิดที่ปรุง
ด้วยปลาเนื้อก็ดี ในน้ำมันก็ดี ในน้ำปานะมีน้ำพุทราเป็นต้นก็ดี ในแกงผักดอง

ที่เปรี้ยวเป็นต้นก็ดี ในแกงอ่อมก็ดี ในแกงอย่างใดอย่างหนึ่ง ชั้นที่สุดแม้ใน
ยาคูและภัตก็ควร. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญ-
ญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3
ฉะนี้แล.
อรรถกถาลสุณวรรคที่ 1 สิกขาบทที่ 1 จบ

ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 2


เรื่องภิกษุฌีฉัพพัคคีย์


[154] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์ ให้ถอนขนในที่แคบ แล้วเปลือยกายอาบน้ำท่าเดียวกันกับหญิง
แพศยา ในแม่น้ำอจิรวดี พวกหญิงแพศยาพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลาย จึงได้ให้ถอนขนในที่แคบเหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกามเล่า ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินหญิงแพศยาพวกนั้นพากันเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ให้ถอนขนในที่แคบ. . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุณีทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์ให้ถอนขนในที่แคบ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ให้ถอนขนในที่แคบเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-