เมนู

ที่ชื่อว่า กระเทียม ได้แก่ กระเทียมที่เขาเรียกกันว่าเกิดในแคว้น
มคธ.
ภิกษุณีรับประเคนด้วยหมายใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน.

บทภาชนีย์


ติกะปาจิตตีย์


[152] กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่ากระเทียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กระเทียม ภิกษุณีสงสัย ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่กระเทียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

ทุกะทุกกฏ


ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่ากระเทียม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ


ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่า ไม่ใช่กระเทียม ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[153] กระเทียมเหลือง 1 กระเทียมแดง 1 กระเทียมเขียว 1
กระเทียมต้นไม่มีเยื่อ 1 กระเทียมที่ปรุงลงในแกง 1 กระเทียมที่ปรุงลงในเนื้อ 1
กระเทียมเจียวน้ำมัน 1 กระเทียมที่ปรุงลงในน้ำพุทรา 1 กระเทียมที่ปรุงลง
ในแกงอ่อม 1 วิกลจริต 1 อาทิกัมมิกา 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 1 จบ

อรรถกถาขุททกกัณฑ์


ธรรมเหล่าใด รวบรวมได้ 66 ข้อ
ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายร้อย-
กรองไว้ ในลำดับแห่งติงสกกัณฑ์ บัดนี้จะ
พรรณนาธรรมแม้เหล่านั้นดังต่อไปนี้.


ปาจิตตีย์


ลสุณวรรคที่ 1 สิกขาบทที่ 1


ในบรรดา 9 วรรคนั้น พึงทราบวินิจฉัย ในสิขาบทที่ 1 แห่ง
ลสุณวรรคก่อน.

[ว่าด้วยเรื่องภิกษุณีฉันกระเทียม]
สามบทว่า เทฺว ตโย ภณฺฑกา ได้แก่ จุกกระเทียม 2-3 จุก
คำว่า โปฎฺฏลเก นี้ เป็นชื่อของกระเทียมมีเยื่อในสมบูรณ์.
สองบทว่า น มตฺตํ ชานิตฺวา มีความว่า (ภิกษุณีถุลลนันทานั้น)
ไม่รู้จักประมาณ เมื่อคนเฝ้าไร่ห้ามปรามอยู่ ใช้ให้ (พวกภิกษุณี) ขนเอา
กระเทียมมาเป็นอันมาก.
สองบทว่า อญฺญตรํ หํสโยนึ ได้แก่ กำเนิดหงส์ทอง.
สามบทว่า โส ตาสํ เอเกกํ มีความว่า หงส์นั้น เป็นสัตว์
ระลึกชาติได้. ดังนั้นจึงมาหาด้วยความรักในก่อน แล้วสลัดขนให้แก่สตรี
เหล่านั้นคนละขน.ขนนั้นเป็นทองคำแท้ ควรแก่การหลอมการทุบและตัดได้.