เมนู

ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเฝ้าไร่เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา
ที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา
จึงไม่รู้จักประมาณ ขนกระเทียมเอาไปมากมายเล่า. . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาไม่รู้จักประมาณ ขนกระเทียมไปมากมาย จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ไม่รู้จักประมาณ ขนกระเทียมเขาไปมากมาย การกระทำ
ของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ
ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของนางนั่น
เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่าง
อื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
[148] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีถุลลนันทา โดยอเนก
ปริยายดังนี้แล้ว ทรงกระทำธรรมีกถาอันสมควรแก่เรื่องนั้น อันเหมาะสมแก่
เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วตรัสเล่ากะภิกษุทั้งหลายว่า.

เรื่องหงส์ทอง


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุณีถุลลนันทาได้เคยเป็น
ปชาบดีของพราหมณ์คนหนึ่ง มีธิดา 3 คน ชื่อนันทา 1 นันทวดี 1 สุนทร-

นันทา 1 ครั้นพราหมณ์สามีทำลายขันธ์ไปบังเกิดในกำเนิดหงส์ตระกูลหนึ่ง
มีขนเป็นทองทั้งตัว หงส์นั้นสลัดขนให้แก่สตรีเหล่านั้นคนละขน แต่ภิกษุณี
ถุลลนันทาคิดว่า หงส์ตัวนี้สลัดขนให้แก่พวกเราคนละขนเท่านั้น แล้วได้จับ
พระยาหงส์นั้นถอนขนจนเกลี้ยง ขนพระยาหงส์นั้นที่งอกใหม่ได้กลายเป็นสีขาว
ไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นภิกษุณีถุลลนันทาได้เสื่อมจากทองเพราะ
ความโลภจัด มาบัดนี้ เสื่อมจากกระเทียม.
[149] ได้สิ่งใดแล้ว ควรยินดีด้วยสิ่งนั้น เพราะความโลภจัดเป็น
เหตุให้เสื่อม เหมือนภิกษุณีถุลลนันทาจับพระยาหงส์ถอนขนแล้ว เสื่อมจาก
ทองฉะนั้น.
[150] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุณีถุลลนันทา โดยอเนก-
ปริยายดังนี้แล้ว. . . ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


56. 1. อนึ่ง ภิกษุณีใด ฉันกระเทียม เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์



[151] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่าที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.