เมนู

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 10


เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา


[134]่ โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
ถุลลนันทาเป็นพหูสูต ช่างพูด องอาจ สามารถกล่าวถ้อยคำมีหลักฐาน คน
เป็นอันมากต่างพากันเข้าไปสนทนาปราศรัยด้วย ประจวบเวลานั้นบริเวณของ
ภิกษุณีถุลลนันทาชำรุด ชาวบ้านจึงถามภิกษุณีถุลลนันทาว่า แม่เจ้า เพราะ
เหตุไรแม่เจ้าจึงปล่อยให้บริเวณชำรุด.
นางตอบว่า เพราะคนให้ไม่มี คนทำก็ไม่มี.
จึงชาวบ้านพวกนั้นได้รวบรวมสิ่งของเครื่องใช้สอยที่เขาเต็มใจทำบุญ
เพื่อเป็นมูลค่าบริเวณ แล้วถวายเป็นกัปปิยภัณฑ์ไว้แก่ภิกษุณีถุลลนันทา ภิกษุณี
ถุลลนันทาได้ขอให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์นั้นแหละ เป็นเภสัช แล้วบริโภคเป็น
ส่วนตัว.
ชาวบ้านเหล่านั้นทราบเรื่องแล้ว พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่า
ปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาทั้งใจถวายบุคคล มาเป็นปัจจัยอย่าง
อื่นไป ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วยเล่า. . .

ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทาได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่า

ปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายบุคคล มาเป็นปัจจัย
อย่างอื่นไป ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วย จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทา จึงได้ให้เปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัย
อย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายบุคคล มาเป็นปัจจัยอย่างอื่น
ไป ทั้งขอมาเป็นส่วนตัวด้วยเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ


35. 10. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้เปลี่ยนซึ่งปัจจัยอย่างอื่น ด้วย
กัปปิยภัณฑ์ที่เขาถวายไว้เพื่อเป็นมูลค่าปัจจัยอย่างหนึ่ง อุทิศไว้อย่าง
หนึ่ง ซึ่งเขาตั้งใจถวายบุคคล แต่ขอมาเป็นส่วนตัว เป็นนิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์


[135] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้
ขอ. . . นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.