เมนู

อรรถกถาติงสกกัณฑ์



ธรรมเหล่าใดชื่อว่านิสสัคคีย์ 30 ที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้แล้ว แก่
พวกภิกษุณี บัดนี้ จะมีวรรณนานุกรมติงส-
นิสสัคคิยธรรมเหล่านั้น ดังต่อไปนี้.


อรรถกถานิสสัคคิยปาจิตตีย์


อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ 1


จำพวกภาชนะ เรียกว่า อามัตตา ในคำว่า อามตฺติกาปณํ นี้.
พวกชนผู้ขายภาชนะเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า อามัตติกา. ร้านค้าของชนเหล่า
นั้น ชื่อว่า อามัตติกาปณะ. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ออกร้านค้าขาย
ภาชนะนั้น.
สองบทว่า ปตฺตสนฺนิจฺจํ กเรยฺย คือ พึงกระทำการสั่งสมบาตร
ความว่า เก็บบาตรไว้ไม่อธิษฐาน หรือไม่วิกัปตลอดวันหนึ่ง. คำทีเหลือ
บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยดังที่ตรัสไว้แล้วในมหาวิภังค์นั่นแล. แต่มีความแปลก
กันเพียงเท่านี้ คือ ในมหาวิภังค์นั้น ได้บริหาร 10 วัน ในสิกขาบทนี้
(บริหาร) แม้วันเดียวก็ไม่มี. คำที่เหลือเป็นเช่นเดียวกันนั่นแล.
แม้สิกขาบทนี้ ก็มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา
1 ทางกายวาจากับจิต 1 เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติ-
วัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ฉะนี้แล.
อรรถกกาปัตตวรรค สิกขาบทที่ 1 จบ

ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 2


เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา



[102] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี
หลายรูปด้วยกัน จำพรรษาอยู่ในอาวาสใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง เป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยวัตรและอิริยาบถ แต่มีผ้าเก่า มีจีวรเศร้าหมอง ได้พากันไปสู่พระนคร
สาวัตถี พวกอุบาสกอุบายสิกาเห็นภิกษุณีเหล่านั้นแล้วคิดว่า ภิกษุณีเหล่านี้เป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตรและอิริยาบถ แต่มีผ้าเก่า มีจีวรเศร้าหมอง ท่านเหล่านี้
เห็นจักถูกผู้ร้ายแย่งชิง แล้วได้ถวายอกาลจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุณีถุลลนันทา
อธิษฐานว่า กฐินพวกเรากรานแล้ว ผ้านี้เป็นกาลจีวร แล้วให้แจกกันเอง.
อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายพบเห็นภิกษุณีเหล่านั้นแล้วได้ถามว่า แม่เจ้า
ทั้งหลายได้จีวรแล้วหรือ.
ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกดิฉันไม่ได้จีวร เพราะ
แม่เจ้าถุลลนันทาอธิษฐานว่า กฐินพวกเรากรานแล้ว ผ้านี้เป็นกาลจีวร แล้ว
ให้แจกกันเอง.
อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้อธิษฐานผ้าอกาลจีวร ว่าเป็นกาลจีวร แล้วให้แจกกัน
เองเล่า ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้น พากันเพ่งโทษติเตียน
โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงได้อธิษฐานผ้าอกาลจีวร ว่าเป็นกาลจีวร แล้วให้